DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author หัสดาพร ศิลาชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:38Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:38Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6825
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน ประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด ปีการศึกษา 2559 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดโรงเรียน และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทาง การพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขต อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ .21-.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร ที่ทดสอบ จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับน้อย 2. การเปรียบเทียบปัญหาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด จำแนกตามเพศ และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาและด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตราด 3.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ได้แก่ การติดตามผลการดำเนินงานตาม แผนงบประมาณของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหาร อาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 ด้านหลักสูตรและการสอน ได้แก่ การจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปรับปรุง/ พัฒนาตามรายงานผลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และการเผยแพร่/ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 3.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา สถานศึกษา/ ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ หรือสังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรม ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมลูกเสือ/ เนตรนารี/ ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ โดยอาศัยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการติดตาม ผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง 3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของ สถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประชุม/ อบรม/ สัมมนา/ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ และการส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหา ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
dc.title.alternative The study of problems nd guidelines for the development of driving the philosophy of sufficiency economy to Klongyi primry schools under Trt eductionl servive re office
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study problems and guidelines for the development of driving the Philosophy of Sufficiency Economy to Klongyai Primary School under Trat Educational Service Area Office. The sample was 158 primary teachers from Klongyai District under Trat Educational Service Area Office in academic year 2016. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan sample size determination table (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610). The samples were stratified random selected. The stratification was on school size. The research instrument was a questionnaire of problems and guidelines for the development of driving the Philosophy of Sufficiency Economy. It had item discrimination power ranged from .21 to .79 and the reliability was .83. The data was analyzed using mean ( ), standard deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, and Scheffe’s method. The results of the study were reported as follows: 1. Problems of driving the Philosophy of Sufficiency Economy to Klongyai Primary Schools under Trat Educational Service Area Office in overall and all sides were at a low level. 2. The comparison of problems of driving the Philosophy of Sufficiency Economy to the school classified by gender and school size was not different statistically significant in general, when classified by work experience there was statistically significant at .05 level. The development of student learning activities was not different statistically significant in general. 3. Guidelines for the development of driving the Philosophy of Sufficiency Economy to the schools were: 3.1 School Administration consisted of the monitoring of the implementation of the budget plan of the institution with the philosophy of sufficiency economy, the site management and management of learning resources in schools. The philosophy of sufficiency economy and the relation with local community were added to the school administration. 3.2 Curriculum and Teaching consisted of the preparation of measurement and evaluation tools that is in line with the objectives of the integrated unit of the philosophy of Sufficiency Economy, The Improvement/ Development according to the results of the integrated teaching philosophy of Sufficiency Economy and the dissemination/ exchange the student's contribution to the philosophy of sufficiency economy in daily life. 3.3 The development of student learning activities consisted of Activity-oriented activities that engage learners in problem solving or development. Educational/ community based economy, society, environment or culture that is in line with Sufficiency Economy philosophy. The activity of Scouting/ Girl Guides/ Red Cross Youth Activities should go with the philosophy of sufficiency economy and Follow up on social and public interest activities of students in accordance with the philosophy of sufficiency economy. 3.4 Personnel development of educational institutions consisted of development of the personnel development plan of the institution. Building awareness and appreciation of the philosophy of sufficiency economy, meetings/ training/ seminars/ study resources to promote the application of the philosophy of sufficiency economy to daily life and encourage personnel to seek knowledge about the philosophy of sufficiency economy.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account