dc.contributor.advisor | สฎายุ ธีระวณิชตระกูล | |
dc.contributor.author | กมลพร ศรีประไพ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:20:24Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:20:24Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6813 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติการสอน ในโรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 103 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามเพศ เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .62-.90 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นรายบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่ประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 5-10 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนสิงห์สมุทรมากกว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และครูที่ประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียน สิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ควรแสดงศักยภาพ ของตนเองให้ผู้ร่วมงานได้เห็นถึงความรู้ความสามารถ ควรกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานเกิดความทุ่มเทในการทำงาน ให้มากขึ้น และควรมีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาในแต่ละสถานการณ์ได้ ตามลำดับ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การศึกษา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | โรงเรียนสิงห์สมุทร | |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา | |
dc.subject | ผู้นำทางการศึกษา | |
dc.title | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนสิงห์สมุทร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Trnsformtionl ledership of the hed techer in lerning deprtment t Singsmut school Stthip district Chonburi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the transformational leadership of the heads of departments at Singsamut School, Sattahip District, Chonburi province. The sample in this research was 103 teachers, selected by stratified random sampling, regarding gender. The data was collected by using five point-rating scale questionnaire with .62-.90 discrimination power and .98 reliability. The statistics used in data analysis were percentage, mean, Standard Deviation (SD), t-test, One-way ANOVA, and Scheffe’s method. The results of this research were; 1. The level of transformational leadership of the heads of departments at Singsamut School, was at high level, ranging from inspirational motivation, individual consideration, and intellectual stimulation, respectively. 2. Comparing between genders, the differences of the level of transformational leadership of the heads of departments at Singsamut School, were not different, except in subcategories of inspirational motivation and intellectual stimulation, the differences were found at .05 level of significance. Comparing among educational degrees, the differences of the transformational leadership were not different. Comparing among work experiences, the levels of transformational leadership were statistically different at .05 level. Teachers with five to ten years experiences expressed more opinions on the level of transformational leadership of the heads of departments at Singsamut School than the teachers with more than ten years experiences and less than five years experiences with difference at .05 level. 3. Top three suggestions to development of transformational leadership of the heads of departments in Singsamut School were; 1) The head of department should exhibit more of their knowledge and abilities. 2) The head of department should stimulate their co-worker to be more dedicated to working. 3) The head of department should be more capable to cope with problems in different situations. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |