DSpace Repository

การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.author เพิ่มสุข อนันต์มั่งคั่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:17Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:17Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6785
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับชั้น และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนมารีวิทย์ จำนวน 144 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ (Rating scale) แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการร่วมมือ ด้านการประสานงาน ด้านมีความคิดสร้างสรรค์ และด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดมี 35 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .46 ถึง .80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการร่วมมือ และด้านการประสานงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ จำแนกตามระดับชั้น พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสารและด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ จำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ครู -- การทำงานเป็นทีม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนมารีวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternative The study of techer's temwork of mryvit school chonburi primry eductionl service re office 3
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study and compare the teamwork of school teachers at Maryvit school under Chonburi Primary Educational Service Area Office as classified by position and working experience. The sample in this study was 144 teachers working for Maryvit school. Data collection instrument in this study was a five-point-rating-scale questionnaire asking 35 questions concerning teachers’ teamwork in 5 aspects. These included communication, participation, work collaboration, creativity, and self-improvement. The questionnaire has its item discriminating power between .46-.80. The reliability of this questionnaire was .97. The statistical methods used in this study were Percentage, Average ( ), Standard Deviation (SD), and t-test. The research reached the following conclusions: 1. Teachers at Maryvit school viewed their teamwork both in general and each aspect in a high level. 2. There was no statistical significant difference regarding teamwork among samples with different position. However, this study reported statistical significant difference of 0.05 level when comparing opinions of samples regarding communication, work collaboration, and participation. 3. When comparing opinions of teachers based on the class level, this study found different opinions regarding teachers’ teamwork both in general and each aspect with statistical significance of 0.05 level. However, the study showed no statistical significant difference when comparing the aspect of communication and self-improvement. 4. Teachers at Maryvit school as classified by working experience shared different opinions toward their teamwork at 0.05 level both in general and each aspect but no statistical significant difference was reported in the aspect of self-improvement.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account