dc.contributor.advisor |
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล |
|
dc.contributor.author |
ฤติมา บุญบำรุง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:20:17Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:20:17Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6782 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดม่งหมายเพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 152 คน จำแนกตามเพศ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25-.78 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสุขในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ คือ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ด้านโอกาสและความก้าวหน้าในองค์กร ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านภาวะผู้นำและวัฒนธรรมในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบ จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูเพศหญิงและครูเพศชายมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูที่ปฏิบัติงานต่ำกว่า 10 ปี และครูที่ปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี มีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแล้วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < .05) โดยครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง มีความสุขมากกว่าครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ 3. แนวทางในการเสริมสร้างความสุขในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบ ควรมุ่งเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีความสุขในการทำงาน มีการสร้างบรรยากาศของโรงเรียนที่ดี เพื่อนร่วมงานมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสื่อการเรียนการสอน ห้องจัดกิจกรรมและห้องเรียนต่าง ๆ มีความเพียงพอต่อครูผู้สอนและผู้เรียน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ความสุขในการทำงาน |
|
dc.subject |
ครูประถมศึกษา -- การทำงาน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
ความสุขในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 อำเภอสัตหีบ |
|
dc.title.alternative |
Hppiness of work of techers in stthip district under chonburi primry eductionl service re office 3 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was happiness of work of teachers in Sattahip district under chonburi primary educational service area office 3. The sample consisted of 152 teachers by gender, duration of the operation and the size of the school. The instrument used in the research is questionnaires are rating scale of the 5 levels. The discrimination items were “between .25 to .78”. The reliability was .91. The statistics used to analyze data were mean ( ), standard deviation (SD), t-test and One-way ANOVA. The research found that: 1. Happiness of work of teachers in Sattahip district under chonburi primary educational service area office 3 was the overall at high level, the average in the highest level sort by average rating in descending order following was the (1) Balance between life and work, (2) The potential and progress of the organization, (3) Compensation and Benefits and Leadership and culture in the organization, Environmental, Job responsibilities were high level. 2. The comparison of happiness of work of teachers in Sattahip district under chonburi primary educational service area office 3 by gender is the differences were not significant statistically. Female and male teachers are happy at work is no different. Classified to the duration of the operation the differences were not significant statistically. Teachers who are work at 10 years least and more than 10 years the happiness in the workplace is no different. Classified to the size of the school was the difference is statistically significant level (p <.05). The teachers working in middle schools are happy more than teacher to work in a larger school. 3. Guidelines for enhancing happiness of work of teachers in Sattahip district under chonburi primary educational service area office 3: should focus on all personnel in the organization is happy to work, the creation of good an atmosphere, Relationships at work, Harmony, Supporting, Various facilities such as the media of instruction and event rooms or classrooms are there enough teachers and learners. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|