Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ได้แก่ ปัจจัยนำคือ เพศ การอยู่ร่วมกันของบิดามารดา ความรู้เรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เจตคติการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ปัจจัยเอื้อคือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับการให้คำปรึกษาจากแหล่งบุคคลต่าง ๆ และปัจจัยเสริมคือ การได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ เพื่อน บุคลากรสาธารณสุข ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความรู้เรื่องการป้องกันเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เจตคติต่อเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับการให้คำปรึกษา การได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ เพื่อน บุคลากรสาธารณสุข และข้อมูลการปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน วิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมารตรฐาน สหสัมพันธ์ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลของการศึกษาพบว่า ความรู้เรื่องการป้องกันเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เจตคติต่อเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และการได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ เพื่อน บุคลากรสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.33, r=0.48 และ r=0.16 ตามลำดับ) การได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.124) และตัวแปรที่สามารถอธิบายการปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน คือ เจตคติ การได้รับการสนับสนุนและความรู้ ซึ่งมีสมการทำนายในรูปคะแนนดิบคือ
Y (การปฏิบัติเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน) = 0.357+0.416 (เจตคติ) + 0.365 (การได้รับการสนับสนุน) + 0.425 (ความรู้)
ผลการศึกษาที่ได้เป็นแนวทางให้สถานศึกษาสนับสนุนการให้ความรู้เรื่องการอนามัยเจริญพันธุ์, กิจกรรมรณรงค์เพื่อปรับเจตคติเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การสร้างค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง รวมถึงสถานพยาบาลที่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติการดูแลวัยรุ่นในกระบวนการให้คำปรึกษา
The purposeof this study was to examine factors related to premarital sex prevention practices of the first year Burapha students. The 400 samples answered 3 sets of questionnaires; 1) demographic data, 2) predisposing factors; sex, parents's living together, knowledge of premarital sex prevention, attitude to premarital sex 3) enabling factors; receiving information, receiving counseling and reenforcement factors; receiving supporting from parents, friends and health care providers. Data were analyzed using mean. Standard deviation, correlation, independent t-test and stepwise regression analysis.
The result of this study revealed that attitude to premarital sex, receiving supporting from parents, friends, health care providers and knowledge of premarital sex prevention showed positive relationship with premarital sex prevention practices at a 0.01 statistical level of significance. The stepwise multiple regression showed that attitude to premarital sex, receiving supporting and knowledge of premarital sex prevention have the effect on premarital sex prevention as shown in the following equation,;
Y (premarital sex prevention practice) = 0.357+0.416 (attitude to premarital sex) 0.365 (receiving supporting) + 0.425 (knowledge of premarital sex prevention)
As this results of this study, it is recommended that educational institutions should promote reproductive health education, campagin to alter attitude to premarital sex prevention, build up sex personal value, Also health care providers should adjust attitude to provide caring aldolescents in counseling process.