DSpace Repository

ประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี ปี 2549

Show simple item record

dc.contributor.author สุนันทา โอศิริ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/676
dc.description.abstract การประเมินผลการดำเนินโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการจังหวัดชลบุรี และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทำงานจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินการ และวิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินโครงการที่ยั่งยืน และวร้าง/ขยาย เครือข่ายการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการและชุมชนพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการขยายผลในระยะต่อไป การวิเคราะห์โครงการโดย SWOT analysis พบว่าปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง คือ โครงการได้รับการยอมรับเป็นนโยบายของจังหวัดชลบุรี ผู้บริหารระดับจังหวัดเห็นความสำคัญและให้ความสนใจหน่วยงาน/องค์กรท้องถิ่น และภาคประชาสังคม เห็นประโยชน์ของโครงการนี้ ซึ่งกิจกรรมของโครงการนี้สามารถดำเนินการได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นแหล่งทุนที่มั่นคง สามารถให้ความสนับสนุนต่อเนื่องและมีศักยภาพทางสังคมที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายในระดับชาติได้ ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อนคือ เป้าหมายโครงการยังเป็นจำนวนครั้งของการจัดประชุม/เวที จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ยังไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งผลผลิตด้านจำนวนสถานประกอบการ/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ และผลลัพธ์ที่ทำให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังไม่สามารถวางแผนการทำงานระยะยาวได้ จำเป็นที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งของทีมและพัฒนาระบบบริหารจัดการปัจจัยที่เป็นภาวะคุกคามคือการขยายตัวอย่างมากของภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม แรงงานและประชากรแฝงมากขึ้น พื้นที่/หน่วยงานไม่สามารถรองรับด้านการชีวิตความเป้นอยู่และสาธารณูปโภค ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป็นชาวต่างชาติ สนใจเพียงผลประกอบการทางธุรกิจ ผู้ที่มาจากต่างถิ่นมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ขาดความรักท้องถิ่น ปัญหาชุมชมเมืองมีหลายด้านและมีความซับซ้อน แก้ไขยาก ต้องบูรณการและใช้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ปัจจัยที่เป้นโอกาสคือนโยบายด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เพิ่มกว้างขึ้นในหลายด้านทั้งคุณภาพการผลิต สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรฐานด้านแรงงาน กฎหมายด้านการคุ้มครองแรงงานท้องถิ่นมีความพร้อมด้านงบประมาณ สามารถสนับสนุนกิจกรรม และสร้างความร่วมมือในชุมชนได้ มีเครือข่ายอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นกลไกขับเคลื่อน และประสานการทำงานในสถานประกอบการและชุมชนในพื้นที่ พร้อมกับมีโครงการ/กิจกรรมอื่นที่สามารถนำบูรณาการร่วมกันซึ่งเสริมให้โครงการนี้ดำเนินงานไปได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยการให้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ มีผู้ที่เห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์มาก 55.8% และมากที่สุด 42.5% โดย 94.2% คิดว่าสถานประกอบ/หน่วยงานควรเข้าร่วมดครงการนี้ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจที่จะเข้าร่วมโครงการ คือเจ้าของ/กรรมการผู้จัดการ 80.8% ฝ่ายบุคคล 28.8% หัวหน้าฝ่าย/แผนก 26.9% ผู้ที่สามารถดำเนินการโครงการ ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนคือเจ้าของ/กรรมการผู้จัดการ 28.7% ฝ่ายบุคคล 63.5% หัวหน้าฝ่าย/แผนก 55.8% พนักงาน 40.4% กิจกรรมที่มีอยู่แล้วในสถานประกอบการด้าน Happy Body (สุขภาพดี) มี 95.2% Happy Heart (น้ำใจงาม) มี 95.2% Happy Society (สังคมดี) มี 51.1% Happy Relax (ทางผ่อนคลาย) มี 42.9% Happy Brain (หาความรู้) มี 61.9% Happy Soul (ทางสงบ) มี 47.6% Happy Money (ปลอดหนี้) 52.4% และ Happy Family (ครอบครัวดี) มี 14.3% ข้อเสนอแนะโครงการควรมีการประชาสัมพันธ์หรือเชิญชวนให้สถานประกอบการ/หน่วยงาน เข้าร่วมโครงการนี้ ประชุมชี้แจงระดับเจ้าของ/ผู้บริหาร โดยแจ้งว่าเป็นนโยบายของจังหวัด แจ้งข่าวสารให้สถานที่ประกอบการทุกแห่งเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง โดยชมรมผู้บริหารงานบุคคลมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม ควรผลักดันให้เกิดเครือข่าย และเสริมในบางแห่งที่นังไม่เข้มแข็งพอ จัดอบรมและมีกิจกรรมในสถานประกอบการให้บ่อยขึ้นเพื่อเข้าถึงพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดทำป้ายการเข้าร่วมโครงการทำให้สามารถรู้ถึงจำนวนสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และเป็นการประชาสัมพันธ์ด้วย ควรทำงานเชิงบูรณาการกับหน่วยงานอื่นที่มีบทบาทดูแลสถานประกอบการ เช่น สวีสดิการและคุ้มครองแรงงาน อุตสาหกรรมจังหวัด สาธารณสุข และอื่นๆ พร้อมกับเชื่อมโยงโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมกิจกรรมทั้งแปดด้าน เช่น โครงการทางด้านศาสนา โครงการออมทรัพย์ โครงการบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเวทีความร่วมมือกับชุมชน ได้รับความสนใจและทุกฝ่ายเห็นด้วยโดยเจ้าภาพหลักในพื้นที่ ได้แก่ เทศบสลแหลมฉบัง เครือข่ายประธานชุมชน สมาคมชุมชนชาวแหลมฉบัง ชมรมท้องถิ่น อบต.ดอนหัวฬ่อ ที่มีความเข้มแข็ง โดยต้องมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ที่ชัดเจ ตั้งแต่เริ่มให้แนวความคิด สร้างการมีส่วนร่วม จนถึงการวางโครงการ โดยให้ชุมชนเป็นแกนหลัก แล้วสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล ให้ความรู้วิธีการและเทคนิค เพื่อจัดทำโครงการ แนะนำบทบาทหน่วยงาน/องค์กร ที่เกี่ยวข้อง หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดทำกิจกรรม happy 8 ในชุมชนเป็นโครงการนำร่องตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นความร่วมมือจากสถานประกอบการ และชุมชน โรงเรียน วัด หน่วยงาน องค์กรเอกชน ให้เกิดเครือข่ายในพื้นที่ พร้อมกับเชื่อมโยงโครงการอื่น เช่น โครงการชุมชนเป็นสุข หรือเครือข่ายนักพัฒนาซึ่งทำงานในพื้นที่ ใช้สื่อในพื้นที่เช่นวิทยุชุมชน ให้มีการพูดคุยผ่านสื่อให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject สถานประกอบการ - - บริการส่งเสริมสุขภาพ - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.subject โครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี - - การประเมิน th_TH
dc.title ประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี ปี 2549 th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2549


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account