DSpace Repository

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.advisor ปริญญา ทองสอน
dc.contributor.author นีรนาท จุลเนียม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:06Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6752
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์นักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินการวิจัยใช้ลักษณะการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) การพัฒนาหลักสูตรอาศัยแนวคิดของ (Tyler) มี 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 2 การออกแบบ และการพัฒนาหลักสูตร ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นที่ 4 การประเมินคุณภาพหลักสูตรด้วย CIPP Model กลุ่มตัวอย่างในการทดลองคือ นักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่า 140 คะแนน จำนวน 30 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง (The one-group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) แบบประเมินเจตคติของผู้ประกอบการที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพเหมาะสำหรับเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มีองค์ประกอบสมรรถนะ 3 ด้าน คือ 1) การเข้าใจตนเอง 2) การเข้าใจผู้อื่น และ 3) การอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีความเหมาะสมของหลักสูตร เท่ากับ 4.69 และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร เท่ากับ 0.98 2. ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรม หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร ภายหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.55 4. เจตคติของผู้ประกอบการที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.50 5. การประเมินหลักสูตรด้วย CIPP Model มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.22 แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมนี้ มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้จัดฝึกอบรมได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์ -- การฝึกอบรม -- หลักสูตร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.title การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
dc.title.alternative The development of trining courses to increse the competency on the emotionl intelligence of the students coopertive eduction the university of the thi chmber of commerce
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of the research were 1) to develop training courses to increase the competency on the emotional intelligence of the cooperative education student of the university of the Thai Chamber of Commerce, and 2) to evaluate the developed curriculum. The design of this research was a Quasi-experimental research. The process of curriculum development employed Tyler model, which included 4 step: 1) The Need of curriculum development 2) Design and develop of the curriculum 3) Implementing of the curriculum and 4) Evaluate the curriculum by using CIPP Model. The samples were 30 undergraduate students who enrolled in Cooperative Education Program at the University of the Thai Chamber of Commerce, in the second semester of academic year 2015, whose emotional intelligence scores lower than 140. The experiment employed the One-Group Pretest-Posttest Design. The instruments were: 1) a test of emotional intelligence, 2) students’ opinions on the training curriculum for enhancement of emotional intelligence, and 3) The attitude towards curriculum implementation of the entrepreneur. The statistics employed in the analysis of data were percentage, mean, standard deviation and t-test. The results were as follows: 1. The developed training course has for increase quality students’ emotional intelligence. It composed of three main aspects they were; 1) to understand their own 2) to understand others, and 3) the co-existence in society. The appropriate level was at 4.69 and the IOC was at 0.98. 2. Results of the evaluation of the training course revealed that the Post-test score of the training was higher than Pre-test at the .05 level. 3. Satisfaction of students in the training courses was at the highest level ( =4.55). 4. The attitude of the operators toward the training curriculum was at the highest level ( =4.50). 5. The assessment of the training courses with CIPP Model the quality was at the high level, of 4.22, suggesting that the training is appropriate and can be used for training.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name กศ.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account