DSpace Repository

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุขุม มูลเมือง
dc.contributor.advisor เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.author ปฐมสุข สีลาดเลา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:17:59Z
dc.date.available 2023-05-12T03:17:59Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6742
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลโดยรวมและโดยจำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดและประเภทของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดการสอนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 500 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน ผลการวิจัย พบว่า โมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทุกค่า แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีลักษณะเป็นโครงสร้าง 2 ลำดับ และทั้ง 7 องค์ประกอบ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสอดคล้องกับแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการวิจัย ตัวบ่งชี้ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นทั้ง 23 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมต่อการวัดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตัวบ่งชี้ที่สามารถวัดสมรรถนะของผู้บริหารได้สูงสุด คือ ตัวบ่งชี้ ด้านการวางแผนพัฒนา สามารถวัดได้ร้อยละ 71 ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน (Invariance) ของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความไม่แปรเปลี่ยนของกลุ่มผู้บริหารที่มีเพศต่างกัน มีความไม่แปรเปลี่ยนของกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประเภทแตกต่างกันและมีความไม่แปรเปลี่ยนของกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา?'
dc.subject ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารการศึกษา
dc.title การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternative A development of competency indictors for bsic school dministrtor
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to develop competency indicators for school administrators in the basic education level and empirically test the congruency and goodness of fit of the model of competency indicators for school administrators in the basic education level, and to test the invariance of the model, both overall and classified by genders of the administrators, school sizes, and school types. The sample consisted of 500 administrators of basic education schools in the primary level under the Office of Primary Education, Office of Basic Education Commission in the year 2013. They were obtained by stratified sampling. The instrument used was a questionnaire, divided into two parts. Part 1 contained checklists asking for demongraphic data of the respondents. Part 2 was a 5-level rating scale for measuring competency of basic education level school administrators. The statistical analyses used were percentage, standard deviation, Chi-square, and goodness of fit index. The research results showed that the constructed model of competency indicators for school administrators in the basic education level fit well with the empirical data. The factor loading of the seven factors were statically significant at the .05 level for all components. This showed that factors of competency of school administrators in the basic education level were two-level structure. There were seven factors corresponded to the concept and objectives of the research. There were 23 synthesized indicators were appropriate for measuring school administrators in the basic education level. The most effective indicator was planning, which could measure up to 71%. The test of measurement invariance of the model competency indicators for school administrators in the basic education level showed invariance of groups of administrators with different genders, different school types, and different school sizes.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account