dc.contributor.advisor |
ไพรัตน์ วงษ์นาม |
|
dc.contributor.advisor |
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
มนัญญา หาญอาสา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:17:59Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:17:59Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6740 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และศึกษาผลการใช้แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1,125 คน จากโรงเรียน 50 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชุด ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ฉบับ 53 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการสร้างแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ได้แบบวัด ชนิดมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) 6 ระดับ จำนวน 53 ข้อ 2. ผลการหาคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง .80-1.00 อำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง .34-.72 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.92 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง มีดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าดัชนีการวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.90 ค่าไคสแควร์ ( ) มีค่าเท่ากับ 2841.03 ระดับองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 975 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ ( / df) มีค่าเท่ากับ 2.91 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.045 และระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p) มีค่าเท่ากับ 0.00000 3. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัย (Norms) ของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์ปกติที่ระบุไว้ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.subject |
นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม |
|
dc.subject |
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา |
|
dc.title |
การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
The development of internet ddiction behviors scle for students in mtthyomsuks 1-3 under the secondry eductionl service re office 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to develop an internet addiction behavior scale for students in Matthayomsuksa 1-3 under the Secondary Educational Service Area Office 18, to determine the quality of the developed internet addiction behavior scale, and to develop norm of the internet addiction behavior scale for the students in Matthayomsuksa 1-3. The research subjects were 1,125 Matthayomsuksa 1-3 students studying in the schools under the Office of Secondary Educational Service Area Office 18 in the academic year 2013 from 50 schools through multi-stage random sampling, instruments used for data collection in this study was the internet addiction behavior scale. The results of the study were as follows: 1. The internet addiction behavior scale consisted of 53 items of six rating scale. 2. The developed internet addiction behavior scale was considered having acceptable quality, according to the IOC of .80-1.00, the power of discrimination of .34-.72 and the test reliability of 0.92. Its construct validity index of congruence between the reach model and the empirical data through confirmatory factor analysis (CFA) indicated its goodness of fit index (GFI) of 0.90, the Chi-Square test ( ) of 2841.03, the degree of freedom (df) of 975, /df of 2.914, the root mean square error of approximation (RMSEA) of 0.045, and the statistical significance (p-value) of 0.00000. 3. The developed norms of the internet addiction behavior scale for students in Matthayomsuksa 1-3 in the Secondary Educational Service Area Office 18 compared with the set norm was found at a moderate level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
วท.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|