DSpace Repository

การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano's taxonomy)

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author จิรัชญา แสงยนต์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:17:54Z
dc.date.available 2023-05-12T03:17:54Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6720
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน และสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 860 คน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งการดำเนินการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามโครงสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจับคู่ ด้านการจำแนก ด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ด้านการสรุปความทั่วไป และด้านการสรุปเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะ 2. การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ซึ่งประกอบด้วย ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สูตร The point-biserial correlation coefficient ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 ค่าความตรงตามสภาพโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบ วัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 3. การสร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ด้วยวิธีการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนเปอร์เซ็นไทล์" ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าดัชนี ความสอดคล้องของเนื้อหากับนิยามตัวชี้วัด เท่ากับ .60-1.00 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง .20-.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .08-.72 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .81 มีค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ .83 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 2660.857 (p = .00) ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .019 ดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .840 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .828 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ .979 และดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .010 เป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืน จึงพิจารณาได้ว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นในรูปตารางตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน พบว่า มีคะแนนดิบตั้งแต่ 13 ถึง 71 คะแนน เปอร์เซ็นไทล์ .37 ถึง 99.87
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาษาไทย -- แบบทดสอบ
dc.subject ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject แบบทดสอบ -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subject ความคิดและการคิด -- แบบทดสอบ
dc.title การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano's taxonomy)
dc.title.alternative The construction of nlyticl thinking bility test for grde 5th, students in Thi lnguge subject ccording to Mrzno’s txonomy
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of research were to construct, to test the quality of test, and to determine norms of analytical thinking ability test for grade 5 students in Thai Language Subject according to Marzano’s taxonomy. The sample was 860 grade 5 students in the second semester of academic year 2013 under Sa-keao Primary Educational Service selected by simple random sampling technique. The research process consisted of three phases: Phase one: The construction of analytical thinking ability test for grade 5 students in Thai Language Subject according to Marzano’s taxonomy in 5 skills subtest; matching, classification, error analysis, generalizing and specifying. Phase two: Validating the quality of the developed analytical thinking ability test comprised of the following activities; obtaining the IOC value from experts, finding difficulty level, discrimination power, reliability and construct validity by comfirmatory factor analysis. Phase three: Norms construction of the analytical thinking ability test for grade 5 students local norm by modifying points raw to percentile. The research findings were that; Analytical thinking ability test for grade 5 students possessed good quality. The content validity of this test according to the finding from experts validation were that there was congruence of indicator and the content between .60-1.00. The item difficulty between .20-.79. The item discrimination was between .08-.72. The reliability of the test was .81. The concurrent validity by Pearson’s correlation coefficient was .83. The construct validity of the test was confirmed by factor analysis that the model fit well with the empirical data of the analytical thinking ability test. The goodness of fit measures for model were = 2660.857, p = .00, RMSEA = .019, GFI = .840, AGFI = .828, CFI = .979 and RMR = .010. Thus the model fit well with the empirical data. The result norm of the analytical thinking ability constructed was that the norms of analytical thinking ability test of grade 5 students in Thai Language strand according to Marzano’s taxonomy was found to have raw scores from 13-71 with the percentile from .37-99.87
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account