dc.contributor.advisor |
สุปราณี ธรรมพิทักษ์ |
|
dc.contributor.author |
เฉลิมชัย รื่นภิรมย์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:17:51Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:17:51Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6709 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคสามต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และจัดทำแนวทางการพัฒนานโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนเรียนทหาร รวมทั้งหมด 1,203 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลกาวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารด้านความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ควรเพิ่มความเร็วของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อยู่ในระดับมากที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ควรแก้ไขกฎ ระเบียบของ รร.ตท. เกี่ยวกับการอนุญาตให้นำและใช้คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.73 และ รร.ตท. ควรขยายช่องทางการสื่อสารในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูผู้สอนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการออกแบบและจัดกิจกรมมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การอนุญาตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าถึงระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนเตรียมทหารใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อค้นหาสิ่งแปลกใหม่ ทันสมัย น่าสนใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรับทราบข้อมูลข่าวสารด้วยความบันเทิง เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเชื่อมตนเองเข้าสู่สังคมออนไลน์ โซเซียล เน็ตเวิร์ค เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ตามลำดับ4) ความคิดเห็นของนักเรียนเตรียมทหารเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนเตรียมทหารมีความคิดเห็นว่าควรอนุญาตให้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ภายในโรงเรียนเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ อนุญาตให้นำโทรศัพท์เข้ามาใช้ และควรกำหนดแนวทางการปฏิบัติหากอนุญาตให้ นักเรียนเตรียมทหารสามารถนำคอมพิวเตอร์ และเครืองมือสื่อสาร เข้ามาใช้ภายในโรงเรียน สำหรับการค้นคว้าเพื่อการศึกษา ตลอดจนปรับปรุงระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของโรงเรียนเตรียมทหารให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อให้สามารถเรียกข้อมูลได้รวดเร็ว และควรเพิ่มเวลาให้ใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างพอเพียง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การศึกษาและการสอน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป |
|
dc.title |
สภาพและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนเตรียมทหารโรงเรียนเตรียมทหาร |
|
dc.title.alternative |
Sttus nd needs on used informtion nd communiction technology fo pre-cdet in rmed forces cdemies preprtor school |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study the needs on usage of information and communication technology; to study status on usage of information and communication technology; and to arrange a guideline for developing education management policy on Information and Communication Technology for the Armed Forces Academies Preparatory School. Populations of this research were 1,203 pre-cadets. The tools that the author had used for this research was a questionnaire, which used Likert Rating Scale, with the reliability of 0.87. Statistics that the author had used for this research were frequency, percentage, mean and standard deviation.
This research revealed that. 1. For the pre-cadet’s opinion toward their needs on usage of information and communication technology, the overall level was high. Further investigation in more detail revealed that they ranked ‘increasing internet network’s speed’ the highest. 2. For the pre-cadet’s opinion toward the institution’s status on usage of information and communication technology, the overall level was moderate. Further investigation in more detail revealed that, they ranked ‘instructor’s usage of information and communication technology as tool for designing and preparing learning activity for student efficiently’ as high. 3. For the pre-cadet’s opinion toward their behavior on usage of information and communication technology, the overall level was high. Further investigation in more detail revealed that, they ranked ‘the pre-cadet’s usage of internet to search for new, innovative subject’ the highest. 4. For the pre-cadet’s opinion toward the Armed Forces Academies Preparatory School’s development of information and communication technology, they suggested that the institution should allow the pre-cadet to bring computer from outside to use at the institution as highest priority; followed by giving permission to bring and use mobile phone; also, the institution should specify a guideline for approving the pre-cadet to bring and use computer and communication device inside the institution, for the academic and research purpose. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารทั่วไป |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|