DSpace Repository

การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุณี หงษ์วิเศษ
dc.contributor.author ณัฐวรรณ แย้มละมัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:17:48Z
dc.date.available 2023-05-12T03:17:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6693
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบในการประเมินผลโครงการครั้งนี้ เพื่อนำผลกระประเมินไปประยุกต์ใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลงานเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสามารถทราบถึงกระบวนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆเป็นไปตามรูปแบบของการประเมินทั้ง 4 ด้าน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยนั้น ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม และบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) โดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า คิดเห็นเกี่ยวกับผลดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.240, σ=0.27) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับ 1 (μ=4.250, σ=0.40) รองลงมาคือ ด้านการกระบวนการ (μ=4.244, σ=0.33) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (μ=4.236, σ=0.37) และด้านปัจจัยนำเข้า (μ=4.231, σ=0.42) ตามลำดับ 1) การประเมินผลด้านบริบท หรือสภาพแวดล้อม เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้แบบสอบถามเข้าร่วมกิจกรรม เหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรการดำเนินโครงการ และด้านการสนับหนุน ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินผลด้านกระบวนการ ในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินผลด้านผลผลิต พบว่า โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้รับการดูแลและการให้ความรู้ด้านสุขภาพและจิตใจ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การส่งเสริมสุขภาพ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ -- การประเมิน
dc.title การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Evlution of helth promotion project in Tkhin Ti municiplity, Bng Lmung district, Chonburi
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aim of this research is to assess the Elderly Health Promotion Project in Takhian Tia Municipality, Bang Lamung District, Chonburi Province by applying the CIPP model as a framework for the project assessment. The results can be applied to generate greatest impact as well as revealing the operative processes and activities of the project according to the four bases of the model. The population of the study consists of 200 elderly patients and staff involved in the project. The tools used for the study is a 5-level rating scale and questionnaire, analysed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation. The results indicate that the overall opinions towards the Elderly Health Promotion Project in Takhian Tia Municipality, Bang Lamung District, Chonburi Province were at a high level (μ=4.240, σ=0.27), When classified by type, it was seen that the highest mean score was for context or environment of the project (μ=4.250, σ=0.40), followed by process (μ=4.244, σ=0.33), then outcomes (μ=4.236, σ=0.37), and, finally, inputs (μ=4.231, σ=0.42) respectively. 1) The assessment of the context or environment of the project revealed participants’ opinions to be at a high level of appropriateness. 2) Assessment of inputs according to the available resources and support for the program was rated high by participants. 3) Assessment of processes promoting activities congruent with the aims of the project were also rated high by participants. 4) Assessment of outcomes showed that the promotion of elderly health project cared for and educated participants’ physical and mental health, being rated high by participants.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account