dc.contributor.advisor |
ปวีณา มีประดิษฐ์ |
|
dc.contributor.advisor |
พรทิพย์ เย็นใจ |
|
dc.contributor.author |
ประภัสสร ธรรมพิทักษ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:14:58Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:14:58Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6672 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental search) แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความเร่ง ความสั่นสะเทือนที่มือและแขน แรงบีบมือ อาการผิดปกติที่มือและแขน ก่อนและหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับ และศึกษาความพึงพอใจต่อวัสดุห่อหุ่มด้ามจับเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องมือวัด ความสั่นสะเทือน เครื่องทดสอบแรงบีบมือ และแบบสอบถามอาการผิดปกติที่มือและแขน และความพึงพอใจ ทำการออกแบบวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดค่าความเร่งความสั่นสะเทือน โดยใช้วัสดุ 2 ชนิด คือ แผ่นยางกันสะเทือนและโฟมยาง NBR แล้วนำไปห่อหุ้มที่ด้ามจับของเครื่องตบดินแบบกระโดด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับพนักงานควบคุมเครื่องตบดินแบบกระโดด ในอุตสาหกรรม ก่อสร้างประเภทงานดินและปรับพื้นที่โครงการก่อสร้างแห่งหนึ่งจำนวน 3 โครงการ ในจังหวัดระยองจำนวน 10 ตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปใช้สถิติ WilcoxonSigned-Ranks Test ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนก่อนทดลอง เท่ากับ 7.153 m/ s 2 และค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนหลังการห่อหุ้มวัสดุฯ เท่ากับ 6.509 m/ s 2 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.005) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย แรงบีบมือก่อนและหลังของการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับ พบว่า ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับมีค่ามากกว่าก่อนการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.002) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของอาการผิดปกติที่มือและแขน พบว่า ความรู้สึกปวด ความรู้สึกชา และความรู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่บริเวณอวัยวะที่รับสัมผัส ได้แก่ มือและข้อมือ ไหล่ และข้อศอก ก่อนและหลังการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.006) และพนักงานมีความพึงพอใจโดยรวมต่อวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเฉลี่ย เท่ากับ 4.00 ดังนั้นการใช้วัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความสั่นสะเทือนที่มือและแขนมีผลทำให้ค่าความเร่งความสั่นสะเทือนลดลง ยังส่งผลต่อแรงบีบมือสูงขึ้นและมีผลต่ออาการผิดปกติจากการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนลดลง อีกทั้งพนักงานมีความพึงพอใจต่อวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความสั่นสะเทือนที่มือและแขนอยู่ในระดับมาก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การสั่นสะเทือน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.subject |
เครื่องปั้นดินเผา |
|
dc.title |
การศึกษาประสิทธิผลของวัสดุห่อหุ้มด้ามจับเพื่อลดความเสี่ยงที่มือและแขนในพนักงานควบคุมเครื่องตบดินแบบกระโดดในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเภทงานดินและปรับพื้นที่ |
|
dc.title.alternative |
The effectiveness of insulted hndle for reducing hnd rm risk mong tmping rmmer opertors for soil leveling work in construction industry |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This reseach was a quasi-experimental study designed for one sampling group.The experimental reseach was repeated before-after measured. The aims to compared hand and arm vibration acceleration, hand grip strength, hand and arm symptoms on before-after use insulated handle and satisfaction study. Research instrument were hand and arm vibration meter (accelerometer), hand grip dynamometer, Nordic musculoskelelal questionnaire and satisfaction questionnaire. Design had insulated handle for reduced vibration acceletion include anti-vibration rubber and nitrile rubber. Those meterials broungth to wrap on handle of tamping rammer machines. The data collection among tamping rammer operators for soil levering work in ten samples of three construction industry in rayong. The data analysis with Wilcoxon Signed-Ranks Test by SPSS program. The results showed that compared vibration acceleration before experimental was 7.153 m/ s 2 and after was 6.509 m/ s 2 . The vibration acceleration was statistically significantly different 0.05 (p-value < 0.005). The compared grip strength was statistically significantly different 0.05 (p-value < 0.002). The compared hand and arm symptoms was statistically significantly different 0.05 (p-value < 0.006) and had high satisfaction when used the insulated handle to reduce ,the average scale was 4.00. Such as the use insulation handle to reduce hand and arm vibration the effectiveness of acceleration vibration reduction but exposure that the direct receiving the vibration from tamping rammer. In parts of muscle strength test the results revealed that higher grip strength and satisfaction with insulation handle to reduce hand and arm vibration at a high level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|