dc.contributor.advisor |
ปวีณา มีประดิษฐ์ |
|
dc.contributor.advisor |
อนามัย เทศกะทึก |
|
dc.contributor.author |
วีรพงศ์ มิตรสันเที๊ยะ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:14:58Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:14:58Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6671 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสรีรวิทยา การสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะ และปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ ในเขตจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง 128 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 86.70 อายุ เฉลี่ยเท่ากับ 36.06± 9.76 ปี มีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ยต่อวัน 9.93 ± 1.50 ชั่วโมง พบว่า แผนกหลอมโลหะมีค่าระดับ WBGT เฉลี่ย เท่ากับ 35.20± 0.78 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากที่สุด ร้อยละ 93.0 และพนักงานมีการสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังจากเลิกงาน ร้อยละ 85.90 จากการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการผิดปกติจากความร้อน ประกอบด้วย 1) ผื่นคันจากความร้อนของพนักงาน ได้แก่ เพศหญิง มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 9.23 (1.33, 63.89) การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 3.19 (1.04, 9.78) การสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในขาสั้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 2.76 (1.02, 7.45) การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 5.27 (1.02, 27.11) และ ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 7.57 (1.52, 37.70) 2) อาการตะคริวจากความร้อน ได้แก่ ดัชนีมวลกายที่มากกว่าปกติ มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 3.29 (1.03, 10.49) และการสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือกางเกงชั้นในขาสั้นมีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 4.77 (1.49, 15.23)3) โรคลมร้อน ได้แก่ การสวมใส่เครื่องแต่งกายอื่น ๆ ได้แก่ ชุดกันไฟ หน้ากากกัน ความร้อน มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 0.02 ( 0.01, 0.23)4) อาการอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน ได้แก่ เพศหญิง มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 7.37 (1.05, 51.52) และการสวมใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดชั้นในขาสั้น มีค่า OR (95%CI) เท่ากับ 2.70 (1.02, 7.17) จากผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อนควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการทำงานที่ต้องสัมผัสกับความร้อน ควรสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สามารถระบายความร้อนได้ดี ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อนทุกครั้งเมื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับความร้อน ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 10 แก้วต่อวัน และมีเวลาในการทำงานที่ เหมาะสมไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วยจากความร้อนต่อไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
แผลไหม้ |
|
dc.subject |
ความร้อน |
|
dc.subject |
ความร้อน -- การแผ่รังสีและการดูดซับ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการเจ็บป่วยจากความร้อนของพนักงานที่รับสัมผัสความร้อนโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะในเขตจังหวัดระยอง |
|
dc.title.alternative |
Fctors ffecting het relted illness mong employees exposed to het in metl smelting mnufcturing fctories in ryong province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this cross-sectional study was to study heat illness of employees exposed to heat in metal smelting manufacturing factories in Rayong Province.Personal factors, physiological factors and factors of job affecting the 128 study subjects were investigated. Most of the study subjects were male (86.70%); their mean age was 36.06± 9.76 years, with an average working time per day of 9.93±. 1.50 hours. The forging department had WBGT average of 35.20 ± 0.78 °c, and the heart rate changed from before work 93.00% and electrolyte in urine increased 85.90% at the end of shift. The results showed that the factors affecting heat related illness, all at a confidence interval of 95% or higher, included:1) Heat rash: being of the female gender saw an odds ratio (OR)of 9.23, with a 95% confidence interval of 1.33 to 63.89. Drinking alcohol the evening before working also led to increased odds for heat rash (OR of 3.19 (1.04, 9.78)), as was wearing shorts or short underwear (OR of 2.76 (1.02, 7.45)), increased body temperature (OR 5.27 (1.02, 27.11)) and working over 8 hoursper day (OR 7.57 (1.52, 37.70)). 2) The symptom of heat cramp was associated with having a high body mass index (OR of 3.29 (1.03, 10.49)) and with wearing shorts or short underwear (OR 4.77 (1.49, 15.23)). 3) The symptom of heat syncope was found to be associated with whether fire protection and fire mask were used, leading to strongly reduced odds (OR 0.02 (0.01, 0.23)). 4) The symptom of heat exhaustion was associated with being female, (OR of 7.37 (1.05, 51.52)) and with wearing shorts or short underwear (OR of 2.70 (1.02, 7.17)). ช Taking these findings into consideration, the author suggests that employees should avoid drinking alcohol before working in the heat, wear light clothing and wear protective gear. Drinking at least 10 glasses of water per day and avoiding work for more than eight hours per day would also help to reduce the risk of heat related illnesses. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|