DSpace Repository

คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ยุวดี รอดจากภัย
dc.contributor.advisor นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.author ณวพร กรบริสุทธิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.available 2023-05-12T03:14:57Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6665
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐ พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพด้านการให้บริการเกี่ยวกับการนวดแผนไทย ผ่านการจบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยไม่น้อยกว่า 330 ชั่วโมง จำนวน 254 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างง่าย โดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่ (Simple Random Sampling without replacement) พื้นที่การวิจัยคือ ระนอง ภูเก็ต พังงา ตรังกระบี่ และสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 ปัจจัยทางด้านลักษณะบุคคล ส่วนที่ 2 ประสบการณ์ด้านการทำงาน ส่วนที่ 3 ประสบการณ์การเจ็บป่วย ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานด้านแพทย์แผนไทย และส่วนที่ 5 คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานวิจัย และวิเคราะห์ค่าความเที่ยง โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient alpha) ) ซึ่งกำหนดค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.7 จากนั้นนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ หลังจากทำการปรับปรุงแก้ไขไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ด้วย Chi-square test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐ พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับกลาง ๆ มีค่าเฉลี่ยที่ 76.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 25.9 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับดีมี 2 ด้านคือ ด้านจิตใจและด้านสัมพันธภาพทางสังคมในระดับกลาง ๆ คือ ด้านสุขภาพร่างกาย ส่วนระดับคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับไม่ดี และปัจจัยทางด้านลักษณะบุคคล ประสบการณ์ด้านการทำงาน ประสบการณ์การเจ็บป่วย และการปฏิบัติงานด้านแพทย์แผนไทยที่มีทั้งความสัมพันธ์และไม่มีกับคุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คุณภาพชีวิต
dc.subject บุคลากรทางการแพทย์
dc.subject ผู้ช่วยพยาบาล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.title คุณภาพชีวิตของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการทางด้านสุขภาพของภาครัฐพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
dc.title.alternative Qulity of life of ssistnt trditionl thi medicine in helth center of the west southern re
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the key factors affecting the quality of life for Assistant Traditional Thai Medicine . The samples consisted of 254 of Assistant Traditional Thai Medicine in The West Southern Area (Ranong, Phuket, Phang Nga, Trang, Krabi and Satun). The instrument used to collect data was a questionnaire design. The questionnaire was divided into five parts: personal factors Work experience Sickness experience Thai Traditional Medicine Practice and Quality of life for Thai Medicine Assistant. Variables were analyzed using descriptive statistics and used Chi-square test was relationship with quality of life in statistically significant at 0.05 level. The results of this research showed that the quality of life for Assistant Traditional Thai Medicine in health center of the west southern area in overall all 4 areas is moderate with an average of 76.1 and standard deviation of 25.9. When considered in each area it was found that the that the quality of life for Assistant Traditional Thai Medicine is good in 2 areas, mentalemotional health and social health. The physical health is middle in 1 area. But for the not good is the environment the personality factors work experience of illness and practice in Thai traditional medicine. Affect and non- affect in the quality of life of Thai traditional medicine assistants.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสร้างเสริมสุขภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account