DSpace Repository

การติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor วสุธร ตันวัฒนกุล
dc.contributor.author สุนทร หงษ์ทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:14:56Z
dc.date.available 2023-05-12T03:14:56Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6657
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ตามกระบวนการบริหาร การดำเนินงานตามโครงการ ต้องมีการติดตามประเมิน เพื่อตรวจค้นหาจุดอ่อนหรือช่องว่างของการดำเนินงาน สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองกาญจนบุรี มีโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นประจำทุกปี ที่ผ่านมายังขาดการติดตามประเมินอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การศึกษานี้จึงต้องการติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ปีงบประมาณ 2559 โดยใช้ตามรูปแบบการประเมินของสเตก ข้อมูลเก็บช่วงเดือนมกราคม 2560 จากเอกสารราชการ สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 22 คน เจ้าหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 74 คน และส่งแบบสอบถามให้หัวหน้าครัวเรือน 186 คนตอบ ข้อมูลทั้งหมดนำมาสรุปผลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร แจกแจงความถี่ คำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบผลสำเร็จของโครงการด้วย t-test กลุ่มเดียว ผลการติดตามประเมินผล พบว่า มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 40 แห่ง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 22 คน รับผิดชอบโดยตรง โดยใช้งบประมาณประมาณ 3 ล้านบาท มีผู้ป่วย 111 คน คิดเป็นอัตราความชุก 95.29 ต่อแสนประชากร ลดลงร้อยละ 18.6 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และไม่พบผู้เสียชีวิต ประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 78.6 คาดหวังผลการป้องกันมากสุด รองลงมา คาดว่า สามารถป้องกันได้ รับรู้โอกาสเสี่ยง และรับรู้ความรุนแรงน้อยสุด ร้อยละ 84.6, 80.7, 77.2 และร้อยละ 71.7 ตามลำดับ มีส่วนร่วมการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 78.7 ร่วมตัดสินใจมากสุด รองลงมา ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมประเมิน ร้อยละ 79.4, 79.4, 78.7 และร้อยละ 76.8 ตามลำดับ ประชาชนพอใจการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 76.7 ต่อบุคลากรมากสุด รองลงมาต่อเวลาการดำเนินงาน การดำเนินงาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ร้อยละ 77.9, 77.4, 75.9 และร้อยละ 75.3 ตามลำดับ ส่วนเจ้าหน้าที่พอใจเฉลี่ยร้อยละ 68.3 และผู้เกี่ยวข้องพอใจเฉลี่ยร้อยละ 75.4 โดยประชาชนมีแรงจูงใจในการป้องกัน มีส่วนร่วม และมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานเฉลี่ยร้อยละน้อยกว่า 80.0 เว้นคาดหวังผลการป้องกัน คาดว่าสามารถป้องกันได้ ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับประโยชน์ เท่านั้นที่ได้เฉลี่ยร้อยละเท่ากับหรือมากกว่า 80.0 ประชาชน เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องพอใจผลการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80.0 แสดงว่า การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมืองกาญจนบุรี ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จึงควรให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีแรงจูงใจในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject ไข้เลือดออก
dc.subject ไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม
dc.title การติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
dc.title.alternative A follow-up study on implementtion of prevention nd control of dengue hemorrhgic fever in mung district, knchnburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative According to the administrative process, project implementation must be monitored, to search for weaknesses or gaps in operations, for use as a guideline continue. Muang Kanchanaburi District Public Health Office, there is a dengue prevention program every year, but the lack of systematic follow up. Therefore, this study needs to monitor the performance of Dengue Hemorrhagic Fever Control in Muang Kanchanaburi District, fiscal year 2016, using Stake’s Evaluation model. Data were collected during January 2016 from official documents, a structured interview was conducted with 22 health official, 74 related head officials, and sending questionnaire to 186 heads of household for responding. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and tested the success of the project with one sample t-test. The results showed that the prevention of dengue hemorrhagic fever in Amphour Muang Kanchanaburi, had 40 related health office, there were 22 public health personnel directly responsible, the budget about 3,000,000 baht to be used, and found 111 patients with a prevalence rate of 95.29 per 100,000 people, a decrease of 18.6 percent from the median of 5 years and no deaths. There were overall protection motivation at the 78.6 percent of average score; response efficacy in the most, follow by self-efficacy, vulnerability and severity in the least, at the 84.6, 80.7, 77.2 and 71.7 percent of average score respectively. The participation of people, in overall at the 78.7 percent of average score; participation in the decision-marking in the most, follow by participated in implementation, gained benefit and participated in evaluation in the least, at the 79.4, 79.4, 78.7 and 76.8 percent of average score respectively. The satisfaction of people, in overall at the 76.7 percent of average score; satisfaction in the personnel in the most, follow by step for implementation, time and facilities in the least, at the 77.9, 77.4, 75.9 and 75.3 percent of average score respectively. The satisfaction of health officials, in overall at the 68.3 percent of average score and the satisfaction of related head officials, in overall at the 75.4 percent of average score. The people had motivation, participation and satisfaction with implementation average score less than 80.0 percent. Except response efficacy, self-efficacy, participated in the decision-making, implementation and benefits had average score equal or more than 80.0 percent. People, health officials and related head official with satisfaction less than 80.0 percent. Show that the implementation to prevention and control dengue hemorrhagic fever of Muang Kanchanaburi District not successful as expected. Therefore, the people and health officials should have more motivation to implementation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account