DSpace Repository

ผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนในพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรีณา มีประดิษฐ์
dc.contributor.advisor พรทิพย์ เย็นใจ
dc.contributor.author สุภาวดี บุญจง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:14:54Z
dc.date.available 2023-05-12T03:14:54Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6644
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเบาะรองนั่งที่ทำจากยางธรรมชาติ ยางไนไตรล์ และยางบิวไทล์ประสานด้วยกาวยาง เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนโดยรูปแบบการวิจัยแบบภาคตัดขวาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือนของงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดเกณฑ์คัดเข้าคือขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มระบบสั่นสะเทือนในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา ยินดีเข้าร่วมการวิจัย และไม่เป็นโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างและเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 43 ปี (±10.62) น้ำหนักเฉลี่ย 68 กิโลกรัม (±6.6) ในหนึ่งวันขับรถเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ขับรถต่อเนื่องยาวนานที่สุดในหนึ่งวันเฉลี่ย 4.6 ชั่วโมง (±1.18) ประสบการณ์ในการขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืด โดยเฉลี่ยคือ 15.87 ปี (±9.87) ผลการประเมินการรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนพบว่าก่อนใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนเกินกว่าค่ามาตรฐาน ISO 2631-1,1997 (0.5 m/s2) ร้อยละ 86.67 และหลังการใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนเกินกว่าค่ามาตรฐานร้อยละ 53.33 ผลประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า ก่อนใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างระดับมาก ร้อยละ 53.33 มีอาการปวดหลังส่วนล่างปานกลาง ร้อยละ 46.67 และหลังการใช้เบาะรองนั่งกลุ่มตัวอย่างมีอาการปวดหลังส่วนล่างมาก ร้อยละ 13.33 และมีอาการปวดหลังส่วนล่างปานกลาง ร้อยละ 40 ผลการเปรียบเทียบแรงสั่นสะเทือนที่กลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสก่อน-หลังการใช้เบาะรองนั่ง พบว่า ก่อนการใช้เบาะรองนั่ง แกน X เท่ากับ 0.124 m/s 2 แกน Y เท่ากับ 0.077 m/s 2 และแกน Z เท่ากับ 0.366 m/s 2 หลังใช้เบาะรองนั่งวัดแรงสั่นสะเทือนได้เท่ากับ 0.062 m/s 2, 0.011 m/s 2 และ 0.282 m/s2 ตามลำดับแตกต่างกันมีนัยสำคัญ P-value เท่ากับ 0.001 ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของค่าความเร่งของแรงสั่นสะเทือนของแต่ละความถี่ ก่อนและหลัง การใช้เบาะรองนั่งพบว่า มีความแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่ความถี่ 0.8 Hz, 25 Hz, 31.5 Hz, 40 Hz, 50 Hz ,80 Hz ค่า P-Value เท่ากับ 0.034, 0.001, 0.001, 0.001, 0.012, 0.041 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากในการใช้เบาะรองนั่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.04 จากผลการศึกษาดังกล่าว เบาะรองนั่งที่ใช้สามารถลดแรงสั่นสะเทือนทั้งร่างกายในพนักงานกลุ่มตัวอย่าง โดยทำให้ความรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างลดลง และมีความพึงพอใจในการใช้งานระดับมาก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.subject อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
dc.subject รถยนต์ -- เบาะนั่ง
dc.subject เบาะรองนั่ง
dc.title ผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนในพนักงานขับรถติดตั้งตัวตอกเสาเข็มพืดระบบสั่นสะเทือน
dc.title.alternative The effects of set cushion on reducing vibrtion mong vibrtory hmmer pile drivers
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aims to study the effects of seat cushion made from natural rubber, nitrile rubber and butyl rubber attached by rubber glue on reducing vibration among drivers who have to operate the vehicles equipped with vibratory hammer pile. In this cross-sectional study, the selection criteria for the informants has specifically focused on the drivers who operate the vehicles equipped with vibratory hammer pile at one of the dike construction sites in Ayutthaya Province. 15 Informants have participated the study on voluntary basis. They do not have muscle and bone related illnesses. Data collection tools include the questionnaire on general information, questionnaire to assess the lower back pain and the vibration meter. The study has shown that the average age of the sample group is 43 years-old (±10.62). The average weight is 68 kilograms (±6.6). The average working hours of the driver is 8 hours per day, and the average duration they have to drive continuously in one day is 4.6 hours per day (±1.18). Regarding experience in operating the vehicles equipped with vibratory hammer pile, the average period that the driver have been working is 15.87 years (±9.87). The result of the vibration exposure assessment has indicated that before using the seat cushion, 86.67 % of the sample group has been exposed the vibration which exceed the standard recommended by ISO 2631-1,1997 (0.5 m/s2). After using the seat cushion, the number of the informants who are still exposed to vibration which exceed the standard has been decreased by 53.33%. The result of the lower back pain assessment has shown that, before using the seat cushion, 53.33% has high level of the lower back pain symptom. 46.67% has medium level of the pain. After using the seat cushion, 13.33% has high level of the lower back pain symptom. 40% has medium level of the pain. The findings from the comparison of the vibration exposure before/after using the seat cushion has shown that before using the seat cushion, the X axis is 0.124 m/s 2, the Y axis is 0.077 m/s 2, the Z axis is 0.366 m/s 2. After using the seat cushion, the vibration scale has been changed to 0.062 m/s 2, 0.011 m/s 2 and 0.282 m/s2 respectively. The P-value is at 0.001. In terms of statistical significance, the comparison of the average scale of the vibration acceleration in each frequency before and after using the seat cushion has indicated that the statistical significance at 0.05 level of 0.8 Hz, 25 Hz, 31.5 Hz, 40 Hz, 50 Hz, 80 Hz frequencies. The P-Value is equivalent to 0.034, 0.001, 0.001, 0.001, 0.012, 0.041 respectively. The sample group has high satisfaction when using the seat cushion, the average scale is 4.04. From the result of the study, the seat cushion can reduce the physical effects caused by vibration to the employees who are the sample group in this study. The lower back pain has been alleviated and they have high level of satisfaction when using the seat cushion.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account