DSpace Repository

การศึกษาคุณภาพการบริการของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลวิภารามอมตะนครจังหวัดชลบุรี ตามทัศนะของผู้ป่วยที่รับบริการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์
dc.contributor.author อาริยา ใจเย็น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:12:18Z
dc.date.available 2023-05-12T03:12:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6626
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract โรงพยาบาลวิภารามอมตะนคร ขนาด 100 เตียง เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2557 ยังไม่มีการประเมินคุณภาพบริการอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยใน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงต้องการประเมินคุณภพการบริการของแผนกนี้ โดยยึดตามแนวคิดของ Parsasuraman, Ziethaml and Berry ซึ่งใช้วิธีเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย อายุ 15 ปีขึ้นไป 196 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามก่อนและหลังการรับบริการ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2560 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความพึงพอใจของผู้ป่วยด้วย Paired t-test ใช้ Independen t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis variance) เปรียบเทียบคุณภาพการบริการระหว่างกลุ่มตัวแปรประชากร ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนมาก (58.2%) เป็นผู้หญิง มีอายุเฉลี่ย 33 ± 9.29 ปี จำนวนมากป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบ (32.7%) ส่วนมาก (76.0%) มารับบริการครั้งแรก มีอาชีพรับจ้าง (51.5%), บัตรประกันสังคม (41.3%) และเคยไปรับบริการที่โรงพยาบาลอื่น (75.5%) โดยรวมมีความคาดหวังต่อการบริการระดับสูง ( %=80.2) อยากได้บริการดุจญาติมิตรสูงสุด รองลงมาที่ตรงความต้องการ ให้ความเชื่อมั่น จับต้องได้ และที่น่าเชื่อถือ เฉลี่ยร้อยละ 81.6, 81.4, 80.2, 79.9 และ 78.1 ตามลำดับ หลังรับบริการ โดยรวมมีความพอใจต่อการบริการระดับสูง ( %=83.7) ได้รับบริการที่ตรงความต้องการสูงสุด รองลงมาที่จับต้องได้ ดุจญาติมิตร น่าเชื่อถือ และที่ให้ความเชื่อมั่น เฉลี่ยร้อยละ 84.7, 83.8, 83.7, 83.4 และ 82.8 ตามลำดับ โดยรวมแต่ละด้านตามทัศนะของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยใน การบริการมีคุณภาพดีมาก (พอใจ > คาดหวัง p<.01) ซึ่งผู้ป่วยที่เคยรับบริการที่อื่นมีทัศนะต่างกัน (p<.05) นอกนั้นเหมือนกัน (p>.05) ดังนั้นจึงควรปรับปรุงการบริการให้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลอื่นที่ได้มาตรฐาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject ผู้ป่วยใน -- บริการที่ได้รับ
dc.subject โรงพยาบาล -- การบริการ
dc.title การศึกษาคุณภาพการบริการของแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลวิภารามอมตะนครจังหวัดชลบุรี ตามทัศนะของผู้ป่วยที่รับบริการ
dc.title.alternative A study on qulity services of inptient deprtment of vibhrm mtnkorn hospitl chonburi province by perspective of ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Vibharam Amata Nakorn private hospital, 100 beds, opened in 2014. There is no systematic quality assessment, especially inpatient department. Therefore, this study was to evaluate the quality of services in this department based on the concept of Parsasuraman, Ziethaml and Berry, to have compared the expectation and satisfaction of the patients. The sample consisted of 196 patients aged 15 years and over. Data were collected by sending a questionnaire to be answered before and after treatment between January and February 2017 and analyzed by percentage, mean, and standard deviation. Paired t-test was used to compare mean difference between expectation and satisfaction of patients. The independent t-test and one-way analysis of variance were used to compare the quality of services among groups of independent variables. The results that most of patients were female (58.2%), average aged 33 ± 9.29 years old, illness with Enteritis (32.7%), first time recieve service (76.0%), employee (51.5%), card of social security (41.3%), and used to other hospital (75.5%). The overall patients’ expectation toward service in high level ( %=80.2) on empathy, responsiveness, assurance, tangible and reliability was 81.6, 81.4, 80.2, 79.9 and 78. 1 percent respectively. The overall patients’ satisfaction toward service in high level ( %=83.7) on responsiveness, tangible, empathy, reliability and assurance was 84.7, 83.8, 83.7, 83.4 and 82.8 percent respectively, The overall and each by perspective of patients of Inpatient Department the service is very good quality (satisfaction > expectation p<.01). The patients used to other hospital had perspective different (p<.05) others had same. So, it should be improved services equality to another hospital had standardized.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account