dc.contributor.advisor |
เบญจวรรณ ชิวปรีชา |
|
dc.contributor.author |
ปราณี อินสุทน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:12:18Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:12:18Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6623 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้เพาะเห็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เพาะเห็ดในจังหวัดเชียงราย จำนวน 350 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นเขตพื้นที่และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บตัวอย่างเชื้อราในโรงเพาะเห็ดด้วยเครื่อง Single stage impactor และทำการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.6 มีอายุเฉลี่ย 47.76 ปี (SD = 12.95) มีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 14.9 ระยะเวลาที่สูบบุหรี่เฉลี่ย 21.4 ปี (SD = 10.39) สูบหรี่เฉลี่ยวันละ 9.65 มวน (SD = 6.14) มีประวัติเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 7.1 และเคยทำงานที่เสี่ยงต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 6.3 มีอาชีพเพาะเห็ดเป็นอาชีพประจำ ร้อยละ 43.7 มีลักษณะการทำงานในโรงเพาะเห็ด ร้อยละ75.5 ทำงานในโรงเพาะเห็ดเฉลี่ยวันละ 4.17 ชั่วโมง (SD = 2.15) มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 53.4 จากการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราในอากาศ พบว่า มีค่าเฉลี่ย (GM ± GSD)เท่ากับ 853.43 ± 1.73 CFU/m3 ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณก้อนเชื้อเห็ดในฟาร์ม เท่ากับ 31,677.43 ก้อนต่อฟาร์ม (SD = 35,188.27) โครงสร้างของโรงเพาะเห็ดทำจากไม้ หลังคาทำจากหญ้าคาและผนังโรงเรือนทำจากตาข่าย โรงเรือนมักจะเป็นพื้นดิน ค่าเฉลี่ยขนาดของโรงเพาะเห็ด เท่ากับ 138.74 m3 (SD = 49.14) อุณหภูมิในโรงเพาะเห็ดเฉลี่ยรวม เท่ากับ 33.23 °C (SD = 4.13) ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเพาะเห็ดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 51.15 % (SD = 12.46) ความเร็วลมในโรงเพาะเห็ด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.04 m/s (SD = 0.04) และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1,237.39 ppm (SD = 974.00) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ พบว่า อายุของผู้เพาะเห็ดช่วงอายุ 31-60 ปี มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 3.289 (1.344, 8.047) ปริมาณเชื้อราในโรงเพาะเห็ดช่วง 2,001-4,000 CFU/m3 มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 15.197 (1.549, 149.087) และอุณหภูมิในโรงเพาะเห็ดช่วง มากกว่า 35 °C มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 1.736 (1.088, 2.990) ในส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน พบว่า อายุของผู้เพาะเห็ดช่วงอายุ 31-60 ปี มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.124 (1.311, 7.883) และปริมาณเชื้อราในโรงเพาะเห็ดช่วง 2,001-4,000 CFU/m3 มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 15.030 (1.531, 147.524) และผลการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง พบว่า ผู้เพาะเห็ดมีประวัติสุขภาพเคยเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจ มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 6.700 (1.043, 43.043) จากผลการศึกษาจึงควรมีการเฝ้าระวังทั้งสภาพแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้เพาะเห็ดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ มากกว่า 30 ปีขึ้นไป และผู้ที่เคยมีประวัติเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจ รวมถึงการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสเชื้อราในบรรยากาศการทำงานการ เช่น การส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจอย่างถูกต้องและเหมาะสม ควรมีการระบายอากาศในโรงเพาะเห็ดทุกครั้งก่อนการทำงาน และหลีกเลี่ยงการทำงานในช่วงอุณหภูมิที่สูงของวัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
พฤกษศาสตร์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา |
|
dc.subject |
สัณฐานวิทยา |
|
dc.subject |
สัณฐานวิทยาพืช |
|
dc.title |
สัณฐานวิทยาเรณูพืชดอกในโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนสตรีภูเก็ต |
|
dc.title.alternative |
Pollen morphology of flowering plnts in botnicl grden of stree phuket school |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research was a cross-sectional descriptive study. The aim of this study is to ascertain the factors affecting respiratory symptoms among the mushroom workers. The numbers of the representative group in Chiang Rai Province were 350 people. They were selected by the area cluster sampling and simple random sampling methods. The tools used to collect data was the interviews from the participants. The fungi concentration were collected with single stage impactor and assessment of the workplace environment. The analysis conducted by the descriptive statistic and inferential statistics method. The findings of the study were shown that the most of participants were female at the percent of 62.6. The average age of participants was at 47.76 years old (SD =12.95). The 14.9 percent of the whole participants were the smokers. The 6.3 percent of history of respiratory illness and 6.0 percent of occupation risk of the respiratory disease. The 43.7 percent of mushroom cultivation work in mushroom houses at average 4.17 hours per day (SD = 2.28) and the frequency of work in the mushroom houses at average 3.1 time per day (SD = 1.15). Respiratory protection was used by 53.4 percent of the mushroom workers. The result showed that the average indoor air concentration of fungi aerosol in mushroom houses using geometric mean to analyzed (GM ± GSD) was 853.43 ± 1.73 CFU/m3. The average per farm of mushroom spawn bags was 31,677.43 (SD = 35,188.27). The structure of the mushroom houses made by wooded. The roof made and wall made of the thatched and sun shade netting. The mushroom houses is usually a solid ground. The average size of the mushroom houses was 138.74 m3 (SD = 49.14).The temperature in the mushroom houses average is was 33.23° C (SD = 4.13) and relative humidity in the mushroom houses average was 51.15 % (SD = 12.46). The ventilation rates in the mushroom houses average was 0.04 m/s (SD = 0.04) and the carbon dioxide average was 1,237.39 ppm (SD = 974.00). From the analysis of factors affecting the respiratory system, found that the participants ranging 31–60 years of age, OR (95% CI) was 3.29 (1.34, 8.05). The indoor air concentration of fungi aerosol in mushroom houses ranging 2,001-4,000 CFU/m3, OR (95% CI) was 15.197 (1.549, 149.087) and the temperature in the mushroom houses above 35 °C, OR (95% CI) was 1.736 (1.088, 2.990).Factors affecting the upper respiratory system, found that the participants ranging 31-60 years of age, OR (95% CI) was 3.124 (1.311, 7.883) and the indoor air concentration of fungi aerosol in mushroom houses ranging 2,001-4,000 CFU/m3, OR (95% CI) was 15.030 (1.531, 147.524). And factors affecting the lower respiratory system, found that history of illness, OR (95% CI) was 6.700 (1.043, 43.043) The research results can made suggestions that should be surveillance of both the working environment and the health of the mushroom workers to prevent health effects. Especially those who are older than 30 years and who had a history of respiratory illness. Including promoting the knowledge and practice to reduce the risk of exposure to fungi in the work environment, such as to promote the use of respiratory protective equipment is accurate and appropriate. There should be ventilation in mushroom houses before work and avoid working during the high temperatures of the day. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ชีววิทยาศึกษา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|