dc.contributor.advisor |
เสรี ชัดแช้ม |
|
dc.contributor.advisor |
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม |
|
dc.contributor.author |
ประพล เปรมทองสุข |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:08:58Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:08:58Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6589 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือก ข้อสอบข้อถัดไป 4 วิธี คือ 2.1) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ค่าสารสนเทศสูงสุด (วิธีการ MIC) 2.2) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจในสภาวการณ์ความเสี่ยง (วิธีการ RDM) 2.3) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์ (วิธีการ HC) และ 2.4) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ (วิธีการ HC-Ex) โดยเปรียบเทียบในด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ ด้านความยาวของแบบทดสอบ และด้านจํานวนข้อสอบที่มีอัตราการใช้ข้อสอบมากกว่า 0.2 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของ เฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าประมาณ ความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์กับคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 จํานวน 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปและมีการควบคุมการใช้ข้อสอบที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบและลดความยาวของแบบทดสอบได้ โดยพิจารณาจากค่าความลําเอียงเฉลี่ย ปรากฏว่า วิธีการ RDM วิธีการ HC และวิธีการ HC-Ex มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ากัน เมื่อเปรียบเทียบด้านความยาวของแบบทดสอบ ปรากฏว่า วิธีการ HC มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ากับวิธีการ RDM และเมื่อเปรียบเทียบ ด้านจํานวนข้อสอบที่มีอัตราการใช้ข้อสอบมากกว่า 0.2 ปรากฏว่า วิธีการ MIC มีประสิทธิภาพสูงสุด และโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น (วิธีการ HC-Ex) มีความเหมาะสมในการใช้งานระดับมากถึงมากที่สุดในด้านความสะดวกในการใช้โปรแกรม ความถูกต้องลักษณะทั่วไปของโปรแกรม และความชัดเจนของคู่มือ และค่าประมาณความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น (วิธีการ HC-Ex) กับ คะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ปรากฏว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก (p < .01) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ข้อสอบ -- การตัดสินใจ |
|
dc.subject |
ข้อสอบ -- การออกแบบและการสร้าง |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
ข้อสอบ |
|
dc.title |
การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบสำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ |
|
dc.title.alternative |
Development of the next item selection procedure using hurwicz criterion with the item exposure control for computerized dptive testing |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed at 1) developing the next item selection procedure using Hurwicz Criterion with the item exposure control; 2) comparing the efficiency of four the next item selection procedures: 2.1) Maximum Information Criterion (MIC), 2.2) Risk Decision Making (RDM), 2.3) Hurwicz Criterion (HC), and 2.4) Hurwicz Criterion with the item exposure control (HC-Ex) by comparing the efficiency of the ability estimation of examinees, the test length, and the number of item with the item exposure rate more than 0.2; 3) developing the computerized adaptive testing program using the next item selection procedure using Hurwicz Criterion with the item exposure control, and 4) studying the correlation of the ability estimation of the examinees via the computerized adaptive testing and the observed score via the computerized testing. The samples were 30 undergraduate students in academic year 2016, and Pearson’s Product Moment Correlation was used to analyze the data. The results showed that the developed next item selection procedure using Hurwicz Criterion with the item exposure control had the efficiency of ability estimation and reduction of the test length, considering the average bias, RDM, HC, and HC-Ex were equally efficient. By comparing the efficiency of the test length, HC was found to be as efficient as that of RDM. For the comparison of the efficiency of the number of item with the item exposure rate of more than 0.2, MIC was the most efficient. The developed computerized adaptive testing program using the developed HC-Ex was suitable for use at the high and very high level in terms of convenience, reliability, program features, and instruction manual. The ability estimation of the examinees via the computerized adaptive testing using the developed HC-Ex and the observed score via the computerized testing were positively correlated (p < .01). |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|