DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จังหวัดตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisor สุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.author เสาวนีย์ กระแจะจันทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6551
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การจัดการตนเองที่ดีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จะช่วยชะลอการเสื่อมของไต และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดี มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเจ็บป่วยความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเอง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 ที่มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคไต โรงพยาบาลตราด จำนวน 96 รายคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองแบบประเมินการรับรู้ ภาวะสุขภาพ SF-12 แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับต่ำ โดยการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพัน์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .406, r= .316, r= .498 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาการเจ็บป่วยและความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและได้รับการสนับสนุนทางสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อระยะที่ 1-3 มีสามารถการจัดการตนเองได้เหมาะสม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรคไต -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject โรคไต
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 จังหวัดตราด
dc.title.alternative Fctors ssocited with selfmngement behviors mong ptients with chronic kidney disese stge 1-3 in trt province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Good self-management of patients with chronic kidney disease stage 1-3 helps to slow the deterioration of the kidney and prevent complications. There are several factors that contribute to self-management behaviors of the patients. This descriptive correlational study is aimed to investigate the relationship between self-management behaviors and health perception, illness duration, self-management knowledge, perceived self-efficacy and social support among patients with chronic kidney disease stage 1-3. Ninety six chronic kidney disease stage 1-3 patients were randomly selected from a chronic kidney outpatient department of Trat hospital to participate in the study. Data were collected by self-report questionnaires including Personal Data Questionnaire, Self-management Behavior Scale, Health Perception Scale (SF-12), Self-Management Knowledge Scale, Perceived Self-efficacy Scale and Social Support Scale. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation coefficients. The results revealed that the participants reported their self-management behaviors at a low level. Health perception, perceived self-efficacy and social support were significantly related to self-management behavior at moderate level (r= .406, r= .316, r= .498, p< .05 respectively). Illness duration and self-management knowledge were not related to self-management behaviors. The results of this study suggest that nurses and health care providers should provide interventions for patients with the chronic kidney disease stage 1-3 to have good health perception, high perceived self-efficacy and high support to improve the self-management behaviors among patients.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account