DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisor นิภาวรรณ สามารถกิจ
dc.contributor.author นิศาชล นุ่มมีชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6550
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ถูกต้องของญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมารับการรักษาในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 90 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกัยโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแบบสอบถามการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและแบบสอบถามการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83, .81, .82 และ.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับมาก (M = 2.16, SD = 0.94) มีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระดับมาก (M = 2.52, SD = 2.79) มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง (M = 10.11, SD = 2.31) และมีการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในระดับปานกลาง (M = 52.19, SD = 6.79) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ประสบการณ์การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .22 และ r= .22 ตามลำดับ) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมอง (r= .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรตระหนักถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค หลอดเลือดสมองแก่ญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มากขึ้น โดยให้ความในเรื่องของปัจจัยเสี่ยง อาการเตือนและการจัดการเมื่อเกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่ออาการของโรคหลอดเลือดสมองในญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน
dc.title.alternative Fctors relted to response to stroke symptoms in fmily members of ptients with cute ischemic stroke
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Appropriate responses to stroke symptoms among family members of patients with acute ischemic stroke can help the patients to get the effective treatment. This descriptive correlational research aimed to analyze the relationship among experiences in receiving information of stroke, perceived risk of stroke, knowledge of stroke and response to stroke symptoms among family members of patients with acute ischemic stroke. Ninety family members of patients with acute ischemic stroke who took the patients to emergency department of Chon Buri hospital were recruited by inclusion criteria in the study. Data were collected during November, 2016 to February, 2017 by using the Demographic Questionnaire, the Experiences in Receiving Information of Stroke Questionnaire, the Knowledge about Stroke Questionnaire, the Perceived Susceptibility of Stroke Questionnaire, and the Response to Stroke Symptoms Questionnaire. Reliabilities of questionnaires were .83, .81, .82, and .70 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and Pearson product moment correlation. The result showed that the samples had high levels of experiences in receiving information of stroke (M= 2.16, SD = 0.94) and perceived risk of stroke (M = 2.52, SD= 2.79). Knowledge about stroke (M= 10.11, SD = 2.31) and response to stroke symptoms (M= 52.19, SD = 6.79) were at moderate levels. Experiences in receiving information of stroke and knowledge of stroke had a weak positive relationships with response to stroke symptoms (r = .22, p< .05; r = .22, p< .05 respectively) while perceived risk of stroke had a moderate positive relationship with response to stroke symptoms (r = .36, p < .01). It was suggest that health care providers concerned about providing knowledge about causes, risks, warning signs, and management of stroke for family members.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account