dc.contributor.advisor |
สมสมัย รัตนกรีฑากุล |
|
dc.contributor.advisor |
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ |
|
dc.contributor.author |
อรพินท์ ขันแข็ง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:01:46Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:01:46Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6539 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลิกสูบเป็นวิธีหนึ่งที่สําคัญในการลดภาวะแทรกซ้อน และลดการตายของผู้ป่วยได้การวิจัยนี้เป็นแบบการศึกษาจากผลมาหาเหตุ (Case-control study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังชาย จังหวัดตราด โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานเพศชายที่สูบบุหรี่และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรค เรื้อรัง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล แม่ข่ายในจังหวัดตราด จํานวน 230 คน ใช้วิธีการจับคู่ เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เลิกสูบบุหรี่ จํานวน 115 คน และ กลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยังไม่เลิกสูบบุหรี่ จํานวน 115 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยไบนารี่ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.0 มีการเลิกสูบบุหรี่นาน 6 เดือนขึ้นไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่และการได้รับการสนับสนุนเลิกสูบบุหรี่ โดยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น 1 คะแนน จะมีโอกาส เลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็น 1.29 เท่า (OR = 1.29, 95% CI =1.17-1.43) และคะแนน การได้รับ การสนับสนุนเลิกสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น 1 คะแนน โอกาสเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็น 1.11 เท่า (OR = 1.11, 95% CI = 1.05-1.17) ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคคลากรทางการแพทย์สามารถนําไปใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถตนเองในการเลิกสูบบุหรี่ และกระตุ้นให้บุคคลในครอบครัวสนับสนุนให้ผู้ป่วย โรคเรื้อรังเลิกสูบบุหรี่ได้สําเร็จ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง |
|
dc.subject |
โรคเรื้อรัง |
|
dc.subject |
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังชาย จังหวัดตราด |
|
dc.title.alternative |
Fctors relted to smoking cesstion mong mle ptients with chronic diseses in trt province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Patients with chronic diseases are at risk for life-threatening severe complication. Smoking cessation promotion is an important strategy to reduce the complication and death of patients. The purpose of this case-control study was to examine factors related to smoking cessation among male patients with chronic diseases in Trat Province. Health Beliefs Model was used as a theoretical framework. Participants were 230 males with hypertension or diabetes mellitus whom smoked cigarettes and registed as chronic patients at the district health promotion hospital in Trat province. The matched-pairprocedure was employed 115 former smokers into the study group and the other 115 current smokers into the control group. Data were collected by face to face interviwed. Descriptive statistics and binary logistic regression were used to analyzed the data. The results revealed that 50.0% of all participants reported quit smoking over the past 6 months.Factors related to smoking cessation among male patients with chronic diseases were perceived self-efficacy of quit smoking and social support. Every one-point increasing of perceived self-efficacy score could increased 1.29 times of chance in smoking cessation (OR = 1.29, 95% CI = 1.17-1.43), and every one-point of social support score could increased 1.11 times of chance in smoking cessation (OR = 1.11, 95% CI = 1.05-1.17). These findings suggest that nurses and related health care providers could utilize to develop a smoking cessasion program among chronically ill patients by focusing on improving patient’s self-efficacy for quit smoking and encourage support from family for patients with chronic diseases stop smoking successfully |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลปฎิบัติชุมชน |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|