DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.advisor ดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.author มุกดาวรรณ ผลพานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:45Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6535
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสุขภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ภาวะซึมเศร้าหากรุนแรงอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าและเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตาย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบ กลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ในชุมชน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 24 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่ม จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถาม ภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ า และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคะแนนเฉลี่ย ภาวะซึมเศร้า แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 ทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มสามารถเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุในชุมชน พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน และประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในที่อื่น ๆ ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน
dc.title.alternative The effects of group cognitive-behviorl modifiction on self-esteem nd depression of community-dwelling older dults
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Depression in older adults is a significant problem in Thailand and in the world. Depressive symptoms if deteriorated, it can progress to be depressive disorders and significant cause of suicide. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of cognitivebehavioral group therapy on self-esteem and depression among community-dwelling older adults. The sample included twenty-four community-dwelling older adults who met the inclusion criteria. The participants were randomly assigned into the experimental (n= 12) and the control (n= 12) groups. The experimental group received group cognitive modification program for 8 sessions, two sessions per week and each session took about 60 to 90 minutes. Where as those in the control group received only routine nursing care. The Self-esteem Inventory and Beck Depression Inventory were used to collect data at pre-post tests and one month follow-up. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA and pairwise comparisons using Bonferroni’s method were employed to analyze the data. The results showed significant difference for the mean scores of self-esteem anddepression between the experimental and control groups at post-test and 1-month follow-up (p< .001). In the experimental group, the mean scores of self-esteem and depression at pre-test, post-test and 1-month follow-up were significantly different (p < .001). From the results, it showed that this group cognitive-behavioral modification had significant effects on self-esteem and depression among community-dwelling older adults. Therefore, nurses and related health personnel could apply this program in order to enhance self-esteem and reduce depression among older adults with depression residing in community and other settings.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account