dc.contributor.advisor |
พิริยา ศุภศรี |
|
dc.contributor.advisor |
วรรณทนา ศุภสีมานนท์ |
|
dc.contributor.author |
รุ่งนภา มหิทธิ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:01:44Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:01:44Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6529 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การคลอดเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้ผู้คลอดมีความวิตกกังวลและความกลัวการสนับสนุน การคลอดจึงมีความสำคัญ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุน การคลอด และความพึงพอใจของผู้คลอดในการสนับสนุนการคลอด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวก คือหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 64 คู่สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุม จำนวน 32 คู่ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คู่ได้รับโปรแกรมเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอด แบบบันทึกข้อ มูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุนการคลอด และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้คลอดต่อการสนับสนุนการคลอด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่าครอบครัวในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอด มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการสนับสนุนการคลอดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 31= 5.44, p < .01 และ t 62 = -4.99, p = < .01 ตามลำดับ) และผู้คลอดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการสนับสนุนการคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t62= -2.07, p = .04) ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดนี้มีประสิทธิภาพ พยาบาลห้องคลอดควรนำโปรแกรมนี้ใช้ในการปฏิบัติการผดุงครรภ์เพื่อผลลัพธ์ทางบวกต่อผู้คลอดและครอบครัว |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง |
|
dc.subject |
การคลอด |
|
dc.subject |
การคลอด -- การดูแล |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อสนับสนุนการคลอดต่อการรับรู้ความสามารถของครอบครัวในการสนับสนุนการคลอดและความพึงพอใจของผู้คลอดในการสนับสนุนการคลอดของครอบครัว |
|
dc.title.alternative |
Effects of the fmily preprtion for lbour support progrm on fmilies’ perceived self-efficcy in their lbour support nd prturients’ stisfction with their fmily’s lbour support |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Childbirth is a phenomenon that results in anxiety and fear. As such, labor support is importance. The purpose of this quasi-experimental research was to determine effects of the family preparation for labor support program on families’ perceived self-efficacy in their labor support and parturients’ satisfaction with their family’s support during childbirth. A convenience sampling was used to recruit a sample of 64 dyads of pregnant women and their family receiving antenatal care and giving birth at Buddhasothorn hospital. The sample of 32 dyads was randomly assigned into the control group receiving usual nursing care, and the other of 32 dyads into the experimental group receiving the family preparation for labor support program plus usual nursing care. Data collection was carried out from November 2015 to April 2016 The research instruments included the family preparation for labor support program, a demographic questionnaire, the questionnaires of families’ perceived self-efficacy in their labor support and parturients’ satisfaction with their family’s support. Their internal consistency reliabilities were .94 and .92, respectively. Data were analyzed by using frequency, percentage, standard deviation, and t-test. Results showed that after receiving the program, family in the experimental group had a mean score of families’ perceived self-efficacy in their labor support significantly higher than before receiving the program, and significantly higher than those in the control group (t 31= 5.44, p < .01 and t 62=-4.99, p= < .01, respectively). Moreover, a mean score of parturients’ satisfaction with their family’s labor support in the experimental group was significantly higher than those in the control group (t 62= -2.07, p = .04). These findings indicate that the family preparation for labor support program is effective. Midwifes and nurses in the labor room should apply this program in the practice of midwifery. In addition, positive outcomes would be gained to the parturients and their family. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การผดุงครรภ์ขั้นสูง |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|