DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisor ดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.author เปรมฤดี หงษ์สุทธิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:40Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6513
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชากรก่อให้เกิดผลเสีย ทั้งต่อผู้เสพครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทํานายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดและปัจจัยทํานาย ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายจากนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอําเภอเขาสมิง จังหวัดตราด จํานวน 169 คน เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ทัศนคติ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติด ได้ค้าความเชื่อมั่นเท่ากับ .60, .78, .72, .92 และ.91 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองเท่ากับ 26.09 (SD =6.08) ความคาดหวังความในสามารถของตนเองในการป้องกันตนเองจากการติดสารเสพติดเป็นปัจจัยทํานายที่ดีที่สุด (𝛽 = .267, p< .05) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ในการป้องกันนักเรียนจากการติดสารเสพติด ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพนักเรียนชายในโรงเรียนขยายโอกาส ควรพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมที่ส่งเสริมความคาดหวังในความสามารถของตนในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและการสนับสนุนทางสังคม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject ยาเสพติดกับนักเรียน -- วิจัย
dc.subject การควบคุมยาเสพติด
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส
dc.title.alternative Fctors influencing preventive behviors for drug ddiction mong mle students of extended eductionl opportunity schools
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Drug addiction is a significant problem and a threat to the population. It causes negative impacts to the drug users themselves, their families, society, economics, and national security. The purposes of this predictive correlational study were to describe preventive behaviors for drug addiction and its influencing factors, including knowledge, attitude, self-efficacy for preventing drug addiction and social support. A simple random sampling technique was used to recruit a sample of 169 students from the extended opportunity schools located in Khaosaming district, Trat province. Data collection was carried out from July.to August 2016. The research instruments were self-reported questionnaires including demographic questionnaire, the measures of knowledge, attitude, self-efficacy, social support, and preventive behaviors for drug addiction. Their reliability were .60, .78, .72, .92, and .91, respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were employed to analyze the data. The study findings showed that the sample had the mean sore of preventive behaviors for drug addiction of 26.09 (SD = 6.08). Self-efficacy for preventing drug addiction was the best predictor (𝛽 = .267, p < .05). From the study results, it is suggested that in preventing drug addiction, those who involved in caring for health of male students of extended educational opportunity schools should promote activities or program aimed at enhancing students’ self-efficacy towards preventing drug addiction and strengthening their social support.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account