DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วารี กังใจ
dc.contributor.advisor สหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.author ปวีณา ประกาทานัง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:51:32Z
dc.date.available 2023-05-12T02:51:32Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6499
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมมักมีความว้าเหว่โปรแกรมการสนัยสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มเป็นกลวธีหนึ่งที่อาจช่วยลดความว้าเหว่ได้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 คน ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling technique) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12คน กลุ่มทดลองได้เข้ามาร่วมโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อน การทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเก็บข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความว้าเหว่ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 และโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่ของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) คะแนนเฉลี่ยความว้าเหว่ของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลน้อยกว่าในระยะก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ผลจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มสามารถทำให้ผู้สูงอายุ มีความรู้สึกว้าเหว่ลดลงได้ดั้งนั้น พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพ ที่ปฏิบัติงานทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนจึงควรนำแนวทางการทำโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่มไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดและป้องกันความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subject การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.title ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความว้าเหว่ของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ
dc.title.alternative Effect of socil support progrm using group process on loneliness of the elderly in socil welfre deverlopment center for older persons
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Loneliness usually found among the elderly in the Social Welfare Development Centre. Social support program using group process is one of the strategies that could reduce loneliness in the elderly. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of the social support program using group process on loneliness among the elderly in the Social Welfare Development Center. Twenty four Thai elders of this center who met the inclusion criteria participated in this study. They were recruited using simple random sampling technique and were equally divided into experimental and control groups. The experimental group received the social support program using group process while the control group received the usual care. Data was collected from both groups at pre-test, post-test, and follow-up period from August to October 2016. Instruments included the Loneliness Inventory scale with its Cronbach’s alpha of .87 and social support program using group process. Descriptive statistics and repeated measures analysis of variance and Bonferroni’s method for comparison were employed to analyze the data. The results revealed that the loneliness mean score of the experimental group was significantly different from those in the control group (p < .05). The loneliness mean scores at post-test and at follow up period in the experimental group were significantly lower than at pre-test as well as lower than those of the control group (p< .001). The results of this study indicated that this social support program using group process was able to reduce the feeling of loneliness in the elderly. Therefore, nurses and health care providers should implement this social support program to reduce and prevent loneliness among the elderly in the Social Welfare Development Center.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account