DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.advisor นฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.author ฐิติมา แซ่แต้
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:51:30Z
dc.date.available 2023-05-12T02:51:30Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6492
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน เด็กวัยนี้จึงต้องมีการกำกับตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและควบคุมความรุนแรงของโรคได้วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืด กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคหืดที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยธุยา ในปี พ.ศ. 2559 คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกำกับตนเอง ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดการกำกับตนเองของแบนดูรา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การสังเกตตนเอง 2) การตัดสินใจ และ 3) การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนโรคหืด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .81 และวัดค่าสมรรถภาพปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับ โปรแกรมการกับตนเองดีกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M = 134.50 , M =1 16.50., t= -9.89, p < .001) และมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืดภายหลังได้รับโปรแกรมการกำกับตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M = 72.56, M = 68.60, t= -8.13, p < .001). ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกำกับตนเองนี้มีประสิทธิภาพพยาบาลเด็กและผู้ให้การดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้โดยประยุกต์ให้เหมาะสมตามบริบท เพื่อส่งผลให้เด็กวัยเรียนโรคหืดมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและสามารถเพิ่มค่าสมรรถภาพปอดได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หืด
dc.subject หืด -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject หืดในเด็ก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.title ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืด
dc.title.alternative Effects of the self-regultion progrm on helth behviors nd pulmonry function of school-ge children with sthm
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Asthma, a chronic illness, is a crucial health problem, particularly in school-age children. They should have appropriated self-regulation which could result in good health behaviors and ability to control the severity of illness. The purpose of this quasi-experimental study aimed to determine the effects of the Self-Regulation Program on health behaviors and pulmonary function of school-age children with asthma. The participants included school-age children with asthma who came to receive the follow up treatment at the hospital, Pranakornsriayutthaya province in 2016. Those who met the study inclusion criteria were randomly assigned into the experimental and the control groups of 25 students for each group. The experimental group received the Self-Regulation Program developed based on the selfregulation concept of Bandura comprising 3 steps: 1) Self-observation, 2) Judgment-process, and 3) self-reaction, while the control group received usual nursing care. Research instruments using for data collection were the health behaviors questionnaire with its reliability of .81, and the pulmonary function test. Data were analyzed by using descriptive statistics t-test. The results revealed that the mean scores of health behaviors of the participants after receiving the Self-Regulation Program were significantly higher than those who received usual nursing care (M = 134.50 , M = 116.50., t= -9.89, p < .001). The average pulmonary function of the participants after receiving the program were also significantly higher than those who received usual nursing care (M = 72.56, M = 68.60, t = -8.13, p < .001). These findings suggest that this Self-Regulation Program is effective. Pediatric nurses and health care providers who are responsible for health of school-age children could obtain this program to use and apply for contextual appropriateness. Consequently, good health behaviors and improve pulmonary function would be achieved.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลเด็ก
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account