DSpace Repository

การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนิสรา แก้วสวรรค์
dc.contributor.author ปริศนา โลมากุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:51:20Z
dc.date.available 2023-05-12T02:51:20Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6454
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมทั้งสิ้น 400 คน ด้วยวิธีการสำรวจ (Survey research method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการวิจัย โดยมีรายเอียดในเรื่อง การกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากร การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social sciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ t-test และ One-way ANOVA และการหาความสัมพันธ์ด้วยค่า Pearson correlation ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านเงื่อนไขอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านการมีภูมิกันในตัวที่ดีตามลำดับ ส่วนการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า ด้านความสุขของประชนชนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเงินออม ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้านความเข้มแข็งของประชาชนตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ, อายุ, ในระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้, อาชีพ ที่แตกต่างกัน มีการ ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันและการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ด้านการมีภูมิกันในตัวที่ดี ด้านเงื่อนไข ความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม มีความสัมพันธ์ต่อการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง -- แง่สังคม
dc.subject รูปแบบการดำเนินชีวิต
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject การพึ่งตนเอง
dc.title การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Impliction of sufficiency economy concept in dily life of residents in Si Rch district, Chon Buri province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research attempts to study the implication of sufficiency economy concept in daily life of residents in Si Racha District, Chon Buri Province. 400 residents residing in Si Racha District were selected with survey research method to be subjects in this quantitative research study. Questionnaire was used as a tool to collect the data. This study was conducted by selecting subjects and population, collecting, filing and analyzing the data. Then, the data were analyzed by SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) program. The statistics were frequency, percentage, mean, and standard deviation. To test the hypothesis, t-test, One-Way ANOVA, and Pearson correlation were applied. The findings reveal that residents residing in Si Racha District, Chon Buri Province implemented three cycles, two conditions of sufficiency economy concept in overall at the high level. When considering in each aspect, condition aspect reached the highest level. Then, the rank went down to knowledge condition, ethic condition, good innate immunity, respectively. It was found that the implementation of sufficiency economy concept in Si Racha District, Chon Buri Province was at the highest level in overall. Considering in each aspect, the happiness of residents was at the highest rank, then the ranks were to saving money, increasing income, and strength of residents, respectively. The test of the hypothesis showed that subjects with different gender, age, and education applied sufficiency economy conceptdifferently. Subjects with different income and occupation implemented sufficiency economy conceptdifferently. In addition, the application of sufficiency economy concept in the aspects of good innate immunity, knowledge condition, and ethic condition related to the implication of sufficiency economy concept in daily life of residents in Si Racha District, Chon Buri Province.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account