DSpace Repository

การรับรู้ภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลของประชาชนที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนิสรา แก้วสวรรค์
dc.contributor.author กัญญารัตน์ มั่งคั่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:51:15Z
dc.date.available 2023-05-12T02:51:15Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6429
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลของธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการรวมทั้งสิ้น 400 คน ด้วยวิธีการสำรวจ (Survey research method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการวิจัย โดยมีรายละเอียดในเรื่องการกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากร การสุ่มตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ t-test และ One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 66.5 มีอายุ 26-35 ปี จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีระดับการศึกษาที่ปริญญาตรีจำนวน 247 คน คิดเป็นร้อยละ 61.8 มีรายได้ที่ได้รับต่อเดือนอยู่ที่มากกว่า 30,000 บาท จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 28.5 มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 หลักบรรษัทภิบาลขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.05) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักบรรษัทภิบาลขององค์กรอยู่ในระดับมาก ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการในระยะยาวอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.77) รองลงมา คือ ด้านการรู้สำนึกในหน้าที่ ( = 3.53) อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate image) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate image) อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่คุณประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.84) รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( = 3.82) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา, รายได้, อาชีพ ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน และหลักบรรษัทภิบาลของธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงเทพฯ
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject บรรษัทภิบาล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.title การรับรู้ภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลของประชาชนที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
dc.title.alternative Customers’ perception of corporte imge of bngkok bnk, khun khn brnch in phr prdeng district, smut prkrn province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research aimed at studying customers’ perception of corporate image of Bangkok Bank at Khuan Khan Branch in Phra Pradaeng District, Samut Prakarn Province. The study was a qualitative research using survey research method, and the sample group consisted of 400 service users of Bangkok Bank at Khuan Khan Branch in Phra Pradaeng District, Samut Prakarn Province. Questionnaires were used as the instrument to collect data. The researchers had set guidelines for conducting research with the details of population sampling, data collection and data preparation and analysis. Then the researcher processed the data using SPSS (Statistical Package for the Social Sciences). The statistics used for data analysis consisted of frequency, average, and standard deviation. T-test , One-way ANOVA and Multiple Regression were used to test hypotheses and prove the differences. The findings revealed that 266 female customers were the majority of the respondents (66.5%). 151 customers were 26-35 years old (37.8%). 247 customers had a bachelor’s degree (61.8%). 114 customers had 30,000 baht monthly income (28.5%). 173 customers were contractors (43.3%). Corporate governance principles were at a moderate level ( =3.05). When each aspect was considered, it was found that two aspects of Corporate Governance Principles, the added value and sustainable long-term business were at the high level ( =3.77). Next was sense of duty which was at the moderate level ( =3.53). Corporate Image was generally at the high level ( =3.44). When each aspect was considered, it was found that every aspect was at the high level. The benefits to the general economy of the country had the highest average ( =3.84). Next was good relationship with the involved target customers ( =3.82). From the hypotheses testing, it was found that people with different level of education, income, occupation had difference in perception of corporate image. Corporate Governance Policy of Bangkok Bank of Khuan Khan Branch in Phra Pradaeng District Samut Prakarn Province affected the perception of Bangkok Bank image.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account