dc.contributor.advisor | ชนิสรา แก้วสวรรค์ | |
dc.contributor.author | น้ำฝน โค้วมณี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:47:44Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:47:44Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6420 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับของผู้เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับของผู้เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent sample t-test, One-way ANOVA F-test, และ Paired-sample t-test ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอยางแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารคณะเยี่ยมชมดูงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีระดับตั้งแต่หัวหน้าฝ่ายถึงผู้อํานวยการ และครูหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบคณะดูงาน จํานวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 20 ปี เป็นนักเรียน/ นักศึกษา การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. และมีภูมิลําเนาปัจจุบันอยู่ที่ภาคกลาง โดยปัจจัยด้านเพศไม่มีผลต่อความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับต่อการเข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุ การศึกษา อาชีพ และภูมิลําเนามีผลต่อความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับต่อการเข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี โดยผู้เข้าชมมีความคาดหวังในด้านการอํานวยความสะดวกและ สถานที่มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับด้านเนื้อหาการนําเสนอ และด้านการประชาสัมพันธ์ ในระดับมาก จากการศึกษายังพบว่า ผู้เข้าชมรับรู้คุณภาพบริการในด้านประโยชน์ที่ได้รับ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเนื้อหาการนําเสนอ ด้านการอํานวยความสะดวกและสถานที่ และด้านการประชาสัมพันธ์ ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบพบว่า ความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับของผู้เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน ในทุกด้านอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยการรับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับมากกว่าความคาดหวังที่มีต่อแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | แหล่งเรียนรู้ -- ชลบุรี | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ | |
dc.title | ความคาดหวังและคุณภาพบริการที่ได้รับของผู้เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านอาวกาศ Space inspirium จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Visitors' expecttion nd service qulity of spce inspirium lerning center, chon buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study attempts 1) to study levels of visitors' expectation and service quality of Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province, and 2) to compare visitors' expectation and service quality of Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province. This study applied mixed methods of qualitative and quantitative studies using questionnaires and interviews as research instruments. 400 subjects were randomly selected with convenience sampling technique. The statistics utilized in the study included descriptive statistics which were frequency, percentage, mean, and standard deviation as well as inferential statistics which were Independent sample t-test, One-way Anova F-test, and Paired-sample t-test. For qualitative study, five subjects were purposively selected for the in-depth interviews. They were administrators from government and private sectors ranging from head of the division to the directors and teachers or corresponding teachers of visiting teams. The findings reveal that the majority of respondents were females, were younger than 20 years old, were students at secondary schools/ vocational colleges, and resided in central region. Gender did not influence expectation and service quality of Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province while age, education, occupation, and residents had impacted on expectation and service quality of Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province. Factor that visitors expected at the highest rank from Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province was facility and location. Then the lower ranks which was at the high level were down to benefits, content and presentation, public relation. In addition, visitors perceived benefit as the highest rank from service quality factors. Then the ranks which were at the highest levels were contents and presentation, facility and location, and public relation, respectively. When compared, expectation factors and service quality factors were different in every factor at the statistically significant level of 0.05. Perception on service quality was higher than expectation toward Space inspirium Learning Center, Chon Buri Province | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการสาธารณะ | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |