DSpace Repository

ปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.author ชุลีพร สายเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:47:44Z
dc.date.available 2023-05-12T02:47:44Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6419
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทํางานเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงาน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัย ในการทํางานต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงาน กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานฝ่ายผลิตบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง จํานวน 225 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Independent sample t-test, One-way analysis of variance, Least significant difference (LSD) และ Multiple linear regression analysis กำหนดค่านัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า พนักงานเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่พนักงานอยู่ในช่วงอายุ 26-35 ปี การศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตําแหน่งงานส่วนใหญ่ เป็นระดับพนักงาน อยู่ในแผนกประกอบเพลา (PROPSHAFT ASM, CV, 4P00) มากกว่า แผนกขึ้นรูปส่วนประกอบเพลา (PROPSHAFT MC) และส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์การฝึกอบรม ด้านความปลอดภัย พนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทํางาน อยู่ในระดับเหมาะสม และมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ด้านการปฏิบัติงานกับสารเคมี และด้านการปฏิบัติงานกับเสียงดังแตกต่างกัน และผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า ปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทํางาน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกกฎ ข้อบังคับและด้านวิศวกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงาน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ -- มาตรการความปลอดภัย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.subject ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
dc.title ปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง
dc.title.alternative Workplce sfety fctors influencing sfety behviors of production employees of n Automotive Prt Compny
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to investigate the safety behavior of employees classified by personal factors and to study the influence of factors enhancing work safety for employees’ safety behavior. The study population consisted of 225 employees from the production department of an automotive part company. Descriptive statistics used in data analysis consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation. The independent sample t-test, One Way Analysis of Variance, Least Significant Difference (LSD), and Multiple Linear Regression Analysis were used for hypothesis testing. The statistical significance levels were determined at 0.05 and 0.01. The research findings revealed that male employees outnumbered female employees. Most of the employees were between 26-35 years old. Most of them had upper secondary certificate. Most were operational staff working in the shaft assembly department (PROPSHAFT ASM, CV, 4P00), and they outnumbered operational staff working in the shaft molding Department (PROPSHAFT MC). In addition, most had experienced in safety training. The level of opinion on the safety factor was at the appropriate level, and their safety behavior was at a high level. From the hypothesis 1 testing, it was found that employees with different age factor had differences in three aspects of safety behaviors, namely, machine operation, chemical operation and the operation with the noise. The results of the second hypothesis test showed that two aspects of safety factors enhancing safety behavior, namely regulation aspect and engineering aspect, had an impact on the personnel’s safety behavior.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account