dc.contributor.advisor |
ชนิสรา แก้วสวรรค์ |
|
dc.contributor.author |
ธีรารัตน์ มงคลโสฬศ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:47:40Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:47:40Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6403 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดเพื่อเพิ่มมูลค่า กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี” โดยผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการ ดังนี้ 1) กำหนดพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 2) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง กำหนดเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ผลิตน้ำตาลโตนด ผู้ประกอบการและผู้บริโภค 30 ราย 3) กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) 4) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการำเนินการวิจัยแบบ Action research ผู้วิจัยใช้กรอบ PDCA เป็นตัวตั้งต้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผนปฏิบัติการ (Plan: P) 2) การปฏิบัติตามแผน (Do: D) 3) การติดตามผล (Check: C) 4) การสรุปแก้ไขหรือการนำไปปฏิบัติ (Act: A) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการน้ำตาลโตนด, เกษตรกรและผู้บริโภค มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแนว ทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดในด้านกลยุทธ์โดยการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนี้ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานเป็นการสร้างความแตกต่างด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีบริการหลังการขาย เช่น การรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี มีภาพลักษณ์ที่ดี มีเอกลักษณ์เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ควรมีการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้มีการผลิตที่สม่ำเสมอเพื่อทำให้ผู้บริโภค รู้จักสินค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น และควรปรับปรุงตราผลิตภัณฑ์ให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดในด้านการเพิ่มมูลค่า ผู้ประกอบการน้ำตาลโตนด กลุ่มเกษตรกรและผู้บริโภค มีความคิดเห็น ดังนี้ ควรเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดให้เหนือกว่าคู่แข่ง เช่น รูปแบบ ความหรูหรา ความทันสมัย และตราสินค้า บุคลากรที่ให้บริการ ต้องมีความชำนาญ ความรู้ ความสามารถในงาน มีมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นกันเอง สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ต้องควบคู่กันไปเพื่อให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงความคุ้มค่าในการบริโภค อีกทั้งการนำนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง และมีคุณสมบัติที่สูงขึ้น ทำให้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะมีเจ้าเดียวที่ทำได้และมีการจดสิทธิบัตร รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
น้ำตาลทราย -- การผลิต |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.title |
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดเพื่อเพิ่มมูลค่า กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรในอำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี |
|
dc.title.alternative |
A development of sugr plm products to increse vlue, cse study of griculturl group in bn lrd district, petchburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research attempts 1) to study the development of sugar palm products in Ban Lard District, Petchburi Province, and 2) to investigate a guideline to increase value of sugar palm products in Ban Lard District, Petchburi Province. This action research is to study "A development of sugar palm products to increase value, a case study of agricultural group in Ban Lard District, Petchburi Province ". The processes to study are: 1) setting up target area - in this study the target area was Lard District, Petchburi Province; 2) setting up target subjects-30 participants can be divided into two groups: sugar palm manufacturers and entrepreneurs as well as consumers; 3) action research process; 4) data collection. The PDCA was applied to collect the data including: (1) Plan: P, (2) Do: D; (3) Check: C, and (4) Act: A. The findings reveal that the manufacturers of sugar palm products, agriculturists, and consumers expressed that the development guideline of sugar palm products in terms of strategies to differentiate the products included shape of the product - appropriate shape can create different in physical appearance as well as after-sale service such as product quality guarantee which was the key factors for purchasing decision, product image -unique image and obtained acceptance from customers, public relation and sales promotion - regularproduction allowed customers to know products more. This could extend customer base. The products need improvement to be more outstanding. The opinions towards guideline to develop sugar palm products to increase their value from entrepreneurs, agriculturists and consumers included the focus on quality to conquer their rivals such as patterns, extravagance, sophisticate, product brand as well as service providers. They should be expertise and have knowledge in their work, should be generous, friendly and can approach to their customers well. The development of product and value increasing should be done together with customer accessibility. In addition, the implication of technology to produce more unique and higher quality products can make advantage in the competition since they could be only one producer who have a patent to manufacture products and to increase its values. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|