DSpace Repository

แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับเพื่อเพิ่มยอดขายของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทักษญา สง่าโยธิน
dc.contributor.author วรพล เลิศประเสริฐเวช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:47:36Z
dc.date.available 2023-05-12T02:47:36Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6381
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของแบรนด์ตาม Model 3I ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราโดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงกับผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และผู้ผลิตกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบด้านผลิตภัณฑ์จะต้องพัฒนาตราสินค้าให้สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม โดยใช้โทนสีหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงธรรมชาติ ด้านบรรจุภัณฑ์ควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นกล่องหรือถุงกระดาษที่สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในบรรจุภัณฑ์ได้และปกปิดผลิตภัณฑ์ได้มิดชิด ด้านการออกแบบผู้ผลิตควรที่จะศึกษาข้อมูลทั้งในด้านรูปแบบและลวดลายให้เพิ่มมากขึ้น โดยต้องออกแบบลวดลายให้มีความแปลกใหม่ทันสมัย ด้านสีของผลิตภัณฑ์ ควรที่จะย้อมสีใบหญ้าแฝก เพื่อเพิ่มความดึงดูดให้กับผู้บริโภค โดยสีที่ใช้ในการย้อมควรเป็นสีจากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองจากขมิ้น ด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตควรที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประดับให้มากขึ้น และมีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและลวดลายรวมไปถึงขนาดของผลิตภัณฑ์ ในด้านการรับรู้แบรนด์ตาม Model 3I อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ควรสื่อถึงความเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ควรที่จะแสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม คุณค่าที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์คือการสร้างความภาคภูมิใจและสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ผลิต ผู้ผลิตควรคํานึงถึงประโยชน์ในการใช้งานของ ผลิตภัณฑ์มากที่สุดเพราะผู้บริโภคคํานึงถึงประโยชน์ในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ในการตัดสินใจซื้อโดยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับ ผู้ผลิตควรจะคงความเป็นเอกลักษณ์ของหญ้าแฝก ผสมผสานหญ้าแฝกกับวัสดุธรรมชาติ สีจากธรรมชาติ เพื่อความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ทั้งด้านรูปแบบลวดลาย และสีสัน ประกอบกบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความคงทนและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สามารถปกปิดผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผลิตภัณฑ์ -- การพัฒนา
dc.subject หัตถกรรม -- ฉะเชิงเทรา
dc.subject หญ้าแฝก -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
dc.title แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับเพื่อเพิ่มยอดขายของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
dc.title.alternative The guides of hndicrft products development mde of vetiver in ornment type to increse sle of rtificil flower from nturl mterils occuptionl community, khlong tkro sub-district, th tkip district, chchoengso province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research had objectives to study (1) the components of products which affected decision making of vetiver grass handicrafts of ornament type of a Group of Artificial Flower from Natural Materials Occupational Community, (2) theperception of the brand based on Model 3I which affected consumers’ decision making of vetiver grass handicrafts of ornament type of a Group of Artificial Flower from Natural Materials Occupational Communiy, and (3) guides of the development of handicraft products of a Group of Artificial Flower from Natural Materials Occupational Community in Khlong Takrao Sub-district, Tha Takiap District, ChachoengsaoProvince. The study was a quantitative research and the data were collected through indepth interview.Purposive sampling was used to determine the sample group consisting of consumers in Muang District, Chon Buri Province and a group of producers who made artificial flowers from natural materials in Khlong Takrao Sub-district, Tha Takiap District, Chachoengsao Province. The findings revealed that for the components of the products, the producers should develop the brand to be recognized as the products made of natural and environmentally friendly materials. The color of the brand should be natural. To packaging, the group should use the paper box or bag which was transparent so that the products could be seen easily and the package could cover the product well. To the design of the products, the producers should study more data of both pattern and design. The design should be extraordinary and modern. The products should be dyed with the color of Vetiver leaves in order to attract consumers. The dying color should be natural dye such as yellow from turmeric, and there should be different patterns, designs and the sizes of the products. To the perception of the brand based on Model 3I, the identity of the products should convey the use of natural materials, and the image should convey that the products were environmentally friendly. The real value of the product was to make the community proud and enable them to have income. The producer of the products should consider the usefulness of the products the most because the consumers put an emphasis on the usefulness of the products for their decision making. The guide for making handicrafts in ornament type was that the producers had to maintain the identity of the product; combine vetiver grass with natural material, use natural color; increase the variety of the products in term of pattern, design, and color; and develop package to be durable and appropriate for the products and the package should cover the products well.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการธุรกิจโลก
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account