dc.contributor.advisor |
ชำนาญ งามมณีอุดม |
|
dc.contributor.author |
ปรีดาภรณ์ บุญเลิศ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:44:11Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:44:11Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6371 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของบุคลากรบริษัทอุตสาหกรรมสีเคลือบผิวแห่งหนึ่ง นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรซึ่งจําแนก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความกระชับ ด้านความทะเยอทะยาน ด้านความคล่องแคล่วว่องไว ด้านความสามัคคี ความตื่นตัว และด้านความไม่ย่อท้อกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรบริษัท อุตสาหกรรมสีเคลือบผิวแห่งหนึ่ง นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยมีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือ ในเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการสํารวจ (Survey research method) โดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 222 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ใช้สถิติ Multiple regression และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้บริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการ จํานวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิภาพการทํางาน โดยวิธี Multiple linear regression ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างตัวแปรอิสระ “วัฒนธรรมองค์กร” และตัวแปรตาม “ประสิทธิภาพการทํางาน” ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.718 หมายถึง ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม มีความสัมพันธ์กันร้อยละ 71.8 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R square) เท่ากับ 0.516 หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของ “ประสิทธิภาพการทํางาน” ขึ้นอยู่กับ “วัฒนธรรมองค์กร” ร้อยละ 51.6 อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปรพบว่า วัฒนธรรมองค์กร ด้านความคล่องแคล่วว่องไว และด้านความไม่ย่อท้อส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานโดยด้านความคล่องแคล่วว่องไว มีค่า B1 เท่ากับ 0.361 และด้านความไม่ย่อท้อ มีค่า B1 เท่ากับ 0.422 ในขณะที่ด้านความกระชับ ด้านความทะเยอทะยาน ด้านความสามัคคี ด้านความตื่นตัวไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานโดยสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึกส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกัน พบว่า การจะทําให้งานมีประสิทธิภาพนั้น บุคลากรต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องรวมถึงการปรับปรุงการทํางานให้มีความทันสมัยหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ด้านคล่องแคล่วว่องไวบุคลากรจะต้องมีการยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้ได้ทุกสถานการณ์และด้านไม่ย่อท้อ โดยคนในองค์กรต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องและหากระบวนการใหม่ ๆ เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพการทํางานมากยิ่งขึ้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
วัฒนธรรมองค์การ |
|
dc.subject |
นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร |
|
dc.subject |
พนักงานบริษัท |
|
dc.title |
วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรบริษัทอุตสาหกรรมสีเคลือบผิวแห่งหนึ่งนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
Culturl orgniztion ffecting employees’ efficient performnce in indudtrl pint business t mtnkorn, chon buri |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research was to study the organizational culture affecting employees’ efficient performance in paint business industrial at Amatanakorn, Chonburi by examining the relationship of organizational culture in six aspects: conciseness, ambition, agility, unity, attentiveness, and indefatigability. Population was the employees in a paint company at Amatanakorn, Chonburi. Mixed method: quantitative and qualitative method was applied. Quantitative research method comprised of survey research, questionnaire from 222 samples, descriptive statistics: frequency, percentage, average, and standard deviation, as well as inferential statistics: multiple regression. Qualitative research method comprised of in-depth interview with 15 executives and operational employees. Findings showed that the relationship of organizational culture and performance efficiency resulting from multiple linear regression, correlation coefficient (R) between independent variable “organizational culture” and dependent variable “performance efficiency” which was at 0.718 implied that independent variable and dependent variable related 71.8%. R square was 0.516 meant that the change of “performance efficiency” depended on “organizational culture” for 51.6% with 0.05 significance level. Considering each variable indicated that organizational culture in agility (B1=0.361) and indefatigability (B1=0.422) affected performance efficiency. On the other hand, conciseness, ambition, unity, and attentiveness did not affect performance efficiency. It was in accordance with the in-depth interview stating that to create the efficient performance the employees should constantly have self-development and improve work efficiency. It was suggested that for agility, the employees should be flexible and adjust themselves to the situations constantly and continuously. Moreover, the employees should look for the new method to develop themselves and work performance. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร |
|
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|