DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง
dc.contributor.advisor กวีญา สินธารา
dc.contributor.advisor วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
dc.contributor.author สิทธิพร พันธุ์พิริยะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.available 2023-05-12T02:44:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6349
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า ทำการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้าเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จำนวน 123 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนถูกทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งประกอบไปด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้านหน้า ด้านขวา ด้านซ้าย และด้านหลัง การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหน้าใช้วิธี 60 Degree flexion test ทดสอบความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านขวาและด้านซ้ายโดยวิธี Side plank test และทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหลังโดยวิธี Back extension endurance test ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาด้วย Leg dynamometer ทดสอบการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวโดยวิธี Star excursion balance test และทดสอบการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหวโดยใช้กระดานทรงตัว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านหน้าและด้านขวามี ความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำมากกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .206, p = .022 และ r = .204, p = .024 ตามลำดับ) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ด้านขวาและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขามีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกระดับต่ำมากและระดับต่ำ ตามลำดับกับการทรงตัวแบบเคลื่อนไหว (r = .197, p = .029 และr = .300, p = .001 ตามลำดับ) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านซ้ายและด้านหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบระดับต่ำมากและระดับต่ำตามลำดับกับการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหว (r = -.241, p = .007 และ r = -.410, p= .000 ตามลำดับ) จากข้อมูลที่ปรากฏสามารถสรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้านขวา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์กันในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวด้ายซ้าย และด้านหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับการทรงตัวแบบไม่เคลื่อนไหว
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กำลังกล้ามเนื้อ
dc.subject สมรรถภาพทางกาย
dc.subject การขี่ม้า
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรยางค์ขา และการทรงตัวในผู้ที่มีกิจกรรมขี่ม้า
dc.title.alternative The reltionship between core strength, lower limb strength nd blnce in horse riding people
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine the relationship among core strength, lower limb strength, and balance in horse riding people. One-hundred and twenty-three participants, continuously ride a horse at least once a week, for an hour at a time, for 3 months, were participated. Each subject was tested core strength composing of abdominal, right-side, left-side, and back endurance strength. The abdominal strength was tested using 60o flexion test. Side plank test was used for determining right-side and left-side strength. Back strength was evaluated by back extension endurance test. Lower limb strength was tested using leg dynamometer. Star excursion balance test and balance board were used for examining dynamic and static balance, respectively. Pearson’s product-moment correlation coefficient method was used for data analysis at .05 statistical significance. The results showed that abdominal and right-side strength significantly correlated with lower limb strength (r = .206, p = .022 and r = .204, p = .024, respectively). Right-side strength and leg strength significantly correlated with dynamic balance (r = .197, p = .029 and r = .300, p = .001, respectively). Static balance was significantly negative correlation with left-side strength and back strength (r = -.241, p = .007 and r = -.410, p = .000, respectively). In conclusion for horse riding people, there were correlations among core strength, especially abdominal and right-side strength, lower limb strength, and dynamic balance. However, left-side and back strength showed negative correlation with static balance.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account