DSpace Repository

ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อทักษะพื้นฐานการเตะในกีฬาเทควันโด

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
dc.contributor.advisor นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.author สุโชค ฉันทะนิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.available 2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6345
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานของกีฬา เทควันโดและทัศนคติต่อการเรียนเทควันโด และเพื่อทดสอบความแตกต่างของทักษะพื้นฐานกีฬา เทควันโดในกลุ่มนักเรียนเพศชายและเพศหญิงและนักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน โดยศึกษาในนักเรียนมัธยมตอนต้น อายุระหว่าง 11-14 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 40 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน โดยการจัดกลุ่มให้คะแนนทักษะเทควันโดขั้นพื้นฐานใกล้เคียงกัน (Match group method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. โปรแกรมการฝึก เทควันโด 8 สัปดาห์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ 2. แบบวัด ทัศนคติต่อการเรียนการสอนกีฬาเทควันโดแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและ 3. ทดสอบวัดทักษะกีฬา เทควันโดขั้นพื้นฐานของกาญจนา สุทธิแพทย์ (2554) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างโดยการหาค่า t-test (Independent simple test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติ ANOVA with repeated measures ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ เป็นไปในทางบวก นักเรียนเห็นด้วยในการนำการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ที่เข้ามาใช้ในการสอนเทควันโด การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ มีผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานของกีฬาเทควันโดของนักเรียนสูงกว่ากลุ่มการสอนแบบปกติ นักเรียนชายและหญิงที่ได้รับการสอนเทควันโด มีการเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 และ8 แต่มีความสามารถไม่แตกต่างกัน ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 และ8 แต่ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเรียนจนถึงสัปดาห์ที่ 8
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เทควันโด -- การสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subject การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
dc.title ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อทักษะพื้นฐานการเตะในกีฬาเทควันโด
dc.title.alternative Effectiveness of the peer tutoring on Tekwondo bsic skills bsed on scffolding pproch
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This experimental research was to study the effectiveness of the peer tutoring, Scaffolding Approach, in relation to the attitudes towards taekwondo learning and the basic skills of taekwondo. Participants were male and female high school student age between 11-14 years old. The sample was divided were Match Group Method into 2 groups of 20 people. Research 8 weeks were,1) the taekwondo training program developed by the researcher. 2) Basic Taekwondo skills test developed by Kanchana Suthipat (2011) and 3) attitudes toward peer tutoring test for taekwondo was developed by researcher. The data were analyzed using of t-test (Independent simple test) and ANOVA with repeated measures. The research found that the attitudes of high school students toward peer tutoring were positive. The peer tutoring on Scaffolding have the effect on improving the basic skills students. Both teaching group have progressively improved at 4 and 8. These was no difference were found on the high and low ability as well as male and female student comparison
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account