DSpace Repository

แนวทางการทำการตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธาศิณี สุศิวะ
dc.contributor.author วิชชุลดา น้อยน้ำคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.available 2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6344
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ในเขตกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยใช้ SWOT analysis จากนั้น ประเมินทางเลือกโดยใช้ TOWS matrix เพื่อพิจารณาแนวทางในการทำการตลาดสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับ เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลส่วนบุคคลส่วนใหญ่พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 31-40 ปีทั้งนี้เพราะ เพศหญิงเริ่มขบัรถด้วยตนเองมากขึ้น เนื่องจากรถยนต์ทำให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางและให้ความปลอดภัย และช่วงอายุ 31-40 ปีเป็นช่วงที่มีวุฒิภาวะสูงพอที่จะสามารถตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ประกอบกับรายได้เฉลี่ยที่สูงพอที่จะสามารถซ้อรถได้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่าผู้บริโภคในที่ซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 21-30 ปี โดยมีลักษณะการใช้งานรถยนต์เพื่อใช้งานในกรุงเทพมหานคร เป็นส่วนใหญ่และใช้เดินทางต่างจังหวัดบ้างเป็นบางคร้ัง 2. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้รถยนต์ได้แก่ โอกาสในการใช้สถานะในการใช้อัตราการใช้และความพร้อมในการซื้อ พบว่า อัตราการใช้รถยนต์ของผู้บริโภคต่อวันส่วนใหญ่อยู่ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100กิโลเมตรและโอกาสในการเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 7-10 ปีซึ่งการตัดสินใจเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ สมรรถนะที่ลดลง มีค่าบำรุงรักษาที่แพงขึ้นและมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ จากอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า การตัดสินใจที่จะซื้อหรือเปลี่ยนรถยนต์ใหม่จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระและสถานะในการใช้จ่ายอีกทั้งผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ในการเดินทางไปทำงาน และใช้เดินทางต่างจังหวัดบ้างเป็นบางครั้ง 3. ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ขั้นรู้จัก ขั้นสนใจ ขั้นประเมินผล ขั้นทดลองและขั้นยอมรับ พบว่า ผู้บริโภครู้ว่าข้อจำกัดของแบตเตอรี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้บริโภคมีความสนใจในการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ากับผู้ที่เคยทดลองใช้มาก่อน และจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพราะมีนวัตกรรมที่แตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป ซึ่งจะทดลองสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าก่อนการซื้อและจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและปัญหากับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า การมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น ย่อมทำให้ผู้บริโภคมีการรับรู้ว่า นวัตกรรมนั้น มีหน้าที่และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยผู้บริโภคที่มีความสนใจ จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เคยใช้และประเมินนวัตกรรมนั้น ๆ ก่อนมีการยอมรับนวัตกรรมนั้น จนเกิดเป็นพฤติกรรม 4. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอก, ปัจจัยภายใน และประเมินทางเลือก เพื่อพิจารณาแนวทางในการทำ การตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า พบว่า สถานการณ์ทางการตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่สามารถเป็นผู้นำทางการตลาดได้เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศไทย มีราคาสูงและสถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีจำกัด อีกทั้งผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในสมรรถนะเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพในการทำการตลาดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจะสร้างการรับรู้ความเชื่อมั่นเพื่อกระตุ้น พฤติกรรมผู้บริโภคและสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกจิ สำหรับผู้บริหาร
dc.subject รถยนต์ไฟฟ้า -- การตลาด
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
dc.title แนวทางการทำการตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative How to win Thi electric cr’s mrket : cse study of Bngkok province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to be informed about the current trend of electric car used by battery electric vehicle: BEV in Bangkok as well as using SWOT analysis and TOWS matrix evaluation in order to explore Thai electric car’ market used by battery electric vehicle: BEV in Bangkok. The results of this study were as follows: 1. Personal factors revealed that most consumers were female and aged 31-40 years. The findings were supported by the fact that most females started to drive their own car for convenience and safety, and with maturity and monthly income they could afford to buy a car. This finding was relevant to the literature review mentioning that females aged 21-30 years mostly drove eco-car in Bangkok, and occasionally outside Bangkok. 2. For the behavior of electric car users towards frequency, status, rate, and readiness in purchasing, the research found that electric car user’s rate was less than 100 km and turnover rate was around 7- 10 years. The main reasons that most consumers decided to purchase a new car were inefficient car engine, high maintenance cost, and information about electric car from Internet. This finding was relevant to the literature review stating that buying a new car needs to be ensured of payment ability, and expenses. Most electric car users commuted to work mostly in Bangkok area, and outside Bangkok from time to time. 3. For innovation adoption of electric car towards steps of know, interested, evaluate, experiment, and accept, the research found that the main limitation of electric car was about the battery. The customers were interested in discussing their opinions with the experienced electric car users. In a step of experimenting, they discussed about problems commonly found and other related information before they purchased. This finding was relevant to the literature review stating the occurrence of new innovation has affected the customers in terms of efficiency, use functions, and advantages. This leads to the innovation adoption among new customers. 4. For SWOT analysis in terms of external factor, internal factor, and evaluation of other alternatives in electric car marketing, the research found that the current situation of electric car marketing is still less likely to be the market leader. This is because the idea of using an electric car is still too new and too soon for people in Thailand. Also, the cost and expenses are high. The battery stations are limiting and the customers are not sure about the quality of electric car compared to the typical car. Therefore, government sector and private sector should work together in order to increase market channel, ensure customers of electric car’s reliability, and stimulate the purchase.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline บริหารธุรกจิ สำหรับผู้บริหาร
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account