dc.contributor.advisor | นนท์ สหายา | |
dc.contributor.author | วรวิทย์ ดอนดาไพร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:44:02Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:44:02Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6332 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทสวัสดิการมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท ABC จํากัด ด้วยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัท ABC จํากัด จํานวน 346 คน ใช้ SPSS ในการวิเคราะห์ โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple linear regression analysis) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.5 ช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 56.6 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ ปวช. ร้อยละ 32.9 ซึ่งเท่ากับระดับ การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 32.9 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 56.4 ตําแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 44.2 และมีอายุงานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 43.6 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทสวัสดิการที่ เป็นตัวเงินอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.18 ประเภทสวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงิน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.93 จากการทดสอบสมมติฐาน อธิบายได้ว่าประเภทของสวัสดิการมีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ABC จํากัด ทั้ง 21 ด้าน มีประเภทของสวัสดิการ 9 ด้าน ได้แก่ 1) เงินโบนัสตามผลประกอบการ 2) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 3) ค่าใช้จ่าย สําหรับที่อยู่อาศัย 4) ค่าใช้จ่ายการเดินทาง 5) ค่าอาหาร 6) เงินกู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์ 7) เงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงาน 8) เงินช่วยเหลือค่ามรณกรรมพนักงาน และ 9) ตรวจสุขภาพประจําปีที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ABC จํากัด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการเรียงลําดับประเภทสวัสดิการตามความต้องการและความพึงพอใจของพนักงาน ควรเพิ่มสวัสดิการค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน โดยจัดให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล การจ่ายเงินโบนัสตามผลประกอบการและเงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงานควร แบ่งตามภาระหน้าที่การปฏิบัติงาน ความขยันอดทนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงมี ระบบให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสตามผลประกอบการและเงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงานได้ และควรเพิ่มสวัสดิการสําหรับบิดามารดาซึ่งอาจเป็นสวัสดิการรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานในมิติครอบครัว | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | สวัสดิการลูกจ้าง | |
dc.subject | สวัสดิการในโรงงาน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.title | ประเภทของสวัสดิการมีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด | |
dc.title.alternative | Categories of fringe benefits affecting employee engagement factors to the organization : a case study of ABC company | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the categories of benefit provided by the organization that influence employee engagement of ABC Company. The sample population was 346employees. The statistics used for the data analysis of this research were Frequency, Percentages, Mean and Standard Deviation. Hypotheses were tested by Multiple linear regression analysis: MRA. The research revealed most respondents were male counted as 53.5%, aged 31-40 years old counted as 56.6%, graduated with high school and vocational degree counted as 32.9%, married counted as 56.4%, worked in an operation level counted as 44.2%, and had more than 5 years of work duration counted as 43.6%. The opinions towards employee benefits found in financial compensation were a medium level counted as 3.18%, non-financial compensation were in a high level counted as 3.84%, and employee engagement were in a high level counted as 3.93%. The hypothesis analysis showed 9 (out of 21) categories of employee welfare and benefits as follows: 1) bonus, 2) provident fund, 3) living allowance, 4) transportation allowance, 5) food allowance, 6) housing loan, 7) loyalty bonus, 8) death allowance, and 9) health check-up. These 9categories of welfare and benefits had an influence on employee engagement to the organization at a significance level 0.05. The researcher has suggested that the employee benefits categories should be prioritized according to employee’s preference and satisfaction. Also, the increase of employee welfare and benefits including bonus, loyalty bonus, and incentive should be in accordance with the standard of international employee welfare and benefits. All employees should be able to voice their opinions toward welfare and benefits given by the organization, and there should be a family allowance given to the employees’ parents. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |