DSpace Repository

วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษฎา นันทเพ็ชร
dc.contributor.author พระพิสิทธิ์ เวอร์ท
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:26Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:26Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6317
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง “วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางมาทํางานของแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัด ชลบุรีและ 3) เพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาการดําเนินชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ในเขตพื้นที่อําเภอ ศรีราชาจังหวัดชลบุรีใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Quality research method) เก็บและรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสําคัญและการสังเกตแบบไม่เป็นทางการกับกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีประกอบด้วย 1) แรงงานข้ามชาติกัมพูชา 10 คน 2) ผู้ประกอบการ 5 คน และ 3) นักวิชาการแรงงานข้ามชาติ 1 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ตรงตามวัตถุประสงค์ของ การศึกษาผลการศึกษา พบว่า 1) แรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่อําเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีมาทํางานตามการชักชวนของเครือญาติโดยนายจ้างจะเป็นผู้จดทะเบียนขออนุญาติทํางาน ด้านวิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชา พบว่า (1) มิติด้านเศรษฐกิจแรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยระหว่าง 6,500-9,000 บาท จะ ส่งกลับบ้าน 7,000-7,500 บาท (2) มิติด้านสังคม แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ทํากิจกรรมทางสังคม และไม่นิยมออกนอกที่พักเนื่องจากกลัวเจ้าหน้าที่จับกุม และไม่อยากใช้เงินฟุ่มเฟือย (3) มิติด้านจิตใจ แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในงานที่ทําและคาดหวังจะทํางานในระยะยาวและ (4) มิติด้านวัฒนธรรม แรงงานข้ามชาติกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีขนบธรรมเนียมที่ใกล้ชิดกับคนไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางมาทํางานของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา (1) ปัจจัยผลัก (Push factors) มาจาก เศรษฐกิจฝืดเคืองค่าจ้างแรงราคาถูกขาดความก้าวหน้า (2) ปัจจัยดึง (Pull factors) ค้าแรงสูง มีโอกาสได้ทํางาน มีสภาพแวดล้อมดีตามสามี-ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตร 3) สําหรับแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษาเล่าเรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) (2) การพัฒนาทักษะทางด้านภาษาไทย (3) ส่งเสริมสนับสนุนลูกจ้างให้มีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงานตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2534
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subject แรงงานต่างด้าวกัมพูชา -- ไทย -- ชลบุรี
dc.title วิถีชีวิตแรงงานข้ามชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Wy of life of cmbodin migrnt workers in sri rch district, chon buri province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aims to: 1. study the way of life of Cambodian trans-national labour in Sriracha district, Chon Buri province; 2. examine factors influencing Cambodian trans-national labour’s travel to work in Sriracha, and; 3. seek ways to develop the lives of Cambodian trans-national labour in Sriracha. This qualitative research collected data using in-depth interviews with key informants and informal observation of the sample population. The population consists of: 1. 10 Cambodian trans-national labourers; 2. 5 business owners, and; 3. one academic specializing in trans-national labour. Content analysis of literature relevant to the objectives was also carried out. The results of the study indicated that: 1. Cambodian trans-national labour in Sriracha district, Chon Buri province were mostly invited to work by relatives with employers registering the labourers for a work permit. In terms of lifestyle of foreign labourers, it was found that: i. Cambodian labourers earned between 6,500 and 9,000 Thai baht per month and sent home 7,000 to 7,500 of that; ii. most Cambodian labour did not engage in much social activity and did not readily leave their domiciles as they were afraid of being arrested and did not want to waste money; iii. most Cambodian labourers were satisfied with their work and hoped to continue it on the longer term, and; iv. most Cambodian labouers were Buddhist and practiced their religion in a similar manner to Thais. Factors influencing Cambodian labourers coming to work in Thailand included: i. push factors such as a sluggish economy in Cambodia, low wages and no career advancement; ii. pull factors such as better wages, work opportunities, better environment and desire to be with spouse, parents or children already working in Thailand. 3. Development of the livestyles of Cambodian trans-national labourers could be achieved by: i. educational support via the Office on Non-Formal and Informal Education; ii. Thai language assistance, and; iii. support for the right of labourers to form labour unions according to the Labor Relations Act, 1975, 1991.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account