DSpace Repository

การบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษฎา นันทเพ็ชร
dc.contributor.author พระมหาศุภโชติ บุญวอน
dc.contributor.other วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:22Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:22Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6305
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีผลต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็ง 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจัยอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยในการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารระดับจังหวัด นักวิชาการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชนผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มในชุมชนวิเคราะห์ โดยการสรุปและการจำแนกประเภทของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำกลุ่ม กรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่มชุมชนเข้มแข็งจำนวน 379 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ด้านการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการทุนมนุษย์ ประกอบด้วย การบริหารทรัพยากรทุนมนุษย์การจัดให้มีระบบฐานข้อมูล ทุนมนุษย์ และการจําแนกตามโครงสร้างงาน 2) ด้านการบริหารจัดการทุนสถาบัน หรือกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีกระบวนการบริหาร 7 ด้านได้แก่มีการการกำหนดหลักการด้านดำเนินงานมีการกำหนดวัตถุประสงคข์องกลุ่ม มีกิจกรรมของกลุ่มมีการกำหนดการวางแผนการจัดระเบียบมีการบริหารเงินทุนและทรัพยากรมีการกำหนด โครงสร้างและกระบวนการทํางาน มีการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร 3) การบริหารจัดการทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มี 3 ด้าน ได้แก่ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีการสร้างมูลค่าจากภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม และมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้านยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีผลต่อการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนั้นยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านรักษาความมั่นคง และความสงบ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการด้านปัจจัยที่สนับสนุนและอุปสรรคของการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ประกอบด้วยปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการติดต่อประสานงาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการสนับสนุนจากภายนอกและด้านการพัฒนาขีดความสามารถแนวทางการบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่ แนวทางการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์แนวทางการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการบริหารทุนสถาบัน หรือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาทุนภุมิปัญญาและวัฒนธรรม
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ชุมชน -- การบริหาร
dc.subject การบริหารจัดการ
dc.subject ทุนทางสังคม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.title การบริหารจัดการทุนทางสังคมของชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดบุรีรัมย์
dc.title.alternative The socil cpitl mngement of strongcommunity in burirm province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of the study is studying the social capital management of strong community in Buriram province, studying the strategies of Buriram province that effect social capital management of strong community, studying the support factors and obstacle factors of social capital management of strong community in Buriram province and suggest the way to improve social capital management of strong community in Buriram province. This research used tomix methods research: qualitative research and quantitative research. In qualitative research, the researcher collected data by interview provincial administrator, scholar, district administrator, group leader, head and members of the community. The data was analysis by classifying data. In quantitative research, the researcher collected data by interview community leader, group committee and member of strong community from 379 representatives. Data analysis of this research is percentage, mean and standard deviation. Pearson correlation coefficient was used in this research. The result of the research found that there are three social capitals managements of strong community in Buriram province. The first one is human capital management. It consists of human capital management which providing data based on human capital and classifies work structure. The second is institute capital or saving production group management. It consists of 7 dimension managements. They are work principle, group objective, group activity, plan, budget and resource management, working structure and institute development. The last dimension is wisdom capital management. It consists of transfer wisdom, upgrade product of wisdom, and conserve wisdom. There are five strategies that effect social capital management of strong community: economy strategy , the social and quality of life strategy, the natural resources and environment strategy, the maintain peace and stability strategy, and the management strategy. The management strategy consists of 6 principles: leadership, participation, coordination, management, supporting from other department, and capability development. The way to manage social capital of strong community in Buriram province is human ability development. The way to support social capital or saving production group is wisdom development
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account