DSpace Repository

ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.author สามารถ รุ่งโรจน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6286
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยในครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 270 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA และกรณีที่ ค่า Levene’s test ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใช้ค่า Brown-forsythe และค่า Welch และการทดสอบความแตกต่าง รายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ LSD ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลเป็นอันดับแรกรองลงมาคือด้านนันทนาการ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านรายได้ และด้านที่พักอาศัยผู้สูงอายุเป็นด้านที่ผู้สูงอายุต้องการเป็นลำดับสุดท้าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้งภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุที่มีเพศต่างกัน มีความต้องการด้านรายได้ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการในภาพรวมและด้านรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอาชีพต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีรายได้ ต่างกัน มีความต้องการในภาพรวมและด้านที่พักอาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีที่มาของรายได้ต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านความมั่นคงทางสังคม ฯ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีความต้องการด้านนันทนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลต่างกัน มีความต้องการในภาพรวม และด้านรายได้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุที่มีภาระความรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้ง 6 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ชลบุรี
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subject สวัสดิการผู้สูงอายุ
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.title ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี
dc.title.alternative The need for socil welfre mong senior citizens living in smed sub-district, mueng chonburi district, chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate the need for social welfare among senior citizens living in Samed Sub-district, Mueang Chonburi District, Chonburi Province and to compare the need for social welfareamong senior citizens classified by personal and household information. The sample of this study was 270 senior citizens aged over 60 years old living in Samed Sub-district, Mueang Chonburi District, Chonburi province. A questionnaire was used as the instrument. Data were analyzed through frequency, percentage, mean (  ), and standard deviation (SD). The hypothesis was tested using t-test and One-way ANOVA. Brown-Forsytheand Welch statistics were used if Levene's test did not meet the criteria. LSD was used to test pairwise comparison The results of thisd study indicated that overall need for social welfare was at a moderate level. When individual aspects were considered, the need for health and health care was at the highest level, followed by recreation, services and support network establishment, social security, family, caregivers, protection, and income. Need for housing was at the lowest level. The hypothesis test results showed that those with different marital status and education did not have differing needs for social welfare, both overall and individually. In contrast, different genders showed different needs for income, services and support network establishment with a statistical significance level of .05. Those with different ages had different levels of need for social welfare both overall and individually with the level of statistical significance set at .05. Those with different occupations had different levels of need for health and health care, services and support network establishment with the level of statistical significance set at .05. Senior citizens with different incomes also had different levels of need for social welfare overall and for housing with the level of statistical significance set at .05. Those with different income sources had different needs for health and health care, social security, services and support network establishment with the level of statistical significance set at .05. Different residence type showed differing needs for recreation with the level of statistical significance set at .05. Those with different numbers of family members had different levels of need for health and health care with the level of statistical significance set at .05. People with different caregivers had different levels of need for social welfare overall, income, and social security with the level of statistical significance set at .05. Those with different obligations for family dependents had different levels of need for 6 aspects of welfare with the level of statistical significance set at .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account