dc.contributor.advisor | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ | |
dc.contributor.advisor | อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก | |
dc.contributor.author | นรากร บุญตัน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:39:17Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:39:17Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6259 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนพิการ จำนวน 84 คน และผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREE-THAI) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คนพิการเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอายุมากกว่า 70 ปี การศึกษาประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพมากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน 3,000 บาท และมากกว่าครึ่งมีสถานภาพโสด ร้อยละ 84.52 มีคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย รองลงมาคือ พิการทางการมองเห็น และการได้ยิน โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมต่ำกว่าด้านอื่น ๆ สำหรับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 51-60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001 บาทขึ้นไป มากกว่าครึ่งมีสถานภาพสมรสอยู่กินฉันสามีภรรยา และดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือ พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม และพิการทางสติปัญญา โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่กลาง ๆ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกายสูงกว่าด้านอื่น และมีคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับต่ำกว่าด้านอื่น ๆ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางในฐานะหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับงานคนพิการในระดับตำบลจึงควรจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และสมาชิกในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่อยู่ในระดับกลาง ๆ ให้มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | |
dc.subject | คนพิการ | |
dc.title | คุณภาพชีวิตคนพิการและผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Qulity of life mong disbled people nd cregivers in Bng nng sub-district dministrtive orgniztion, mphoe Pnthong, Chon buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to examine quality of life among disabled people and caregivers in Bang Nang Sub-district Administrative Organization, Amphoe Panthong, Chon Buri Province. The data were collected from 84 people with disabilities and 68 caregivers who were requested to complete the World Health Organization Quality of Life (WHOQOL-BREF) which is a Thai version. The statistical tests to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. The results of this study revealed that the disabled people comprised more males than females, aged over 70, holding an elementary school certificate, being jobless, earning monthly not more than 3,000 baht. More than half of them were single; about 84.52% of them experienced disabilities with mobility, followed by vision and hearing impairment. The subjects rated their quality of life at a moderate level. When considering each aspect of quality of life, the one in relation to social relationship was rated at a lower level than other aspects of quality of life. Regarding the caregivers, there were more female than male caregivers, aged 51-60, holding an elementary school certificate, earning their living as daily hired workers with a monthly income of 10,000 baht onwards. More than half of them had spouses. They gave care to people with mobility disabilities the most, followed by those with mental or behavioral illness. They rated their quality of life at a moderate level. Specifically, while the quality of life in relation to physical aspect was rated at a higher level than other aspects, the one relating to social relationship was rated at the lowest level. Based on these results, it is suggested that, as a public sector responsible for disable people, Bang Nang Sub-district Administrative Organization should organize projects that promote potentials of these disabled and caregivers in order for them to develop mentally and physical. Also, these projects might build a better relationship between the disabled, caregivers, and community members. Finally, this might result in upgrading their moderate quality of life to a better level. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |