dc.contributor.advisor | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ | |
dc.contributor.author | นลิน สิทธิญาวณิชย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:37:28Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:37:28Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6233 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะที่คาดหวังต่อพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทางของผู้บริหารผู้จัดการและหัวห้างานในธุรกิจบริการ 2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในปัจจุบันของพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทางในธุรกิจบริการและ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่คาดหวังกับสมรรถนะในปัจจุบันของพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทาง ประชากรในการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือผู้บริหารผู้จัดการและหัวหน้างานมีจำนวนทั้งสิ้น 26 คน กลุ่มที่ 2 คือพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทางมีจำนวนทั้งสิ้น 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามจำนวน 2 ชุดโดยชุดที่ 1 คือแบบสอบถามสมรรถนะที่คาดหวังของพนักงานขับรถ โดยสารไม่ประจำทาง ชุดที่ 2 คือแบบสอบถามสมรรถนะของพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทาง ในปัจจุบัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (One sample t-test) โดยใช้ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารผู้จัดการ และหัวหน้างานเป็นเกณฑ์การเปรียบเทียบ ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารผู้จัดการและหัวห้างานคาดหวังต่อสมรรถนะของพนักงานขับรถ โดยสารไม่ประจำทาง ด้านสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกรายการยกเว้นการมีความรู้เกี่ยวกับการขับรถอย่างปลอดภัย มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านสมรรถนะเฉพาะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกรายการยกเว้นการมีทักษะในการขับขี่ยานพาหนะมีความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนสมรรถนะในปัจจุบันของพนักงานขบัรถโดยสารไม่ประจำทางด้านสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานพบว่า มีสมรรถนะอยู่ในระดับมากทุกรายการ สำหรับด้านสมรรถนะเฉพาะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากยกเว้นการมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายขนส่งอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารผู้จัดการและหัวหน้างานกับสมรรถนะในปัจจุบันของพนักงานขับรถ พบว่า สมรรถนะในปัจจุบันของพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทางกับสมรรถนะที่คาดหวังของผู้บริหารผู้จัดการและหัวหน้างานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งรายด้านและรายข้อโดยพบว่า พนักงานขับรถมีสรรถนะในปัจจุบันต่ำกว่าสมรรถนะของผู้บริหารผู้จัดการและหัวหน้างานคาดหวังทั้งรายด้านและรายข้อ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | บริษัท เอทีพี 30 | |
dc.subject | สมรรถนะ | |
dc.subject | สมรรถภาพในการทำงาน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ | |
dc.subject | คนขับรถ | |
dc.title | สมรรถนะของพนักงานขับรถโดยสารไม่ประจำทาง กรณีศึกษา บริษัท เอทีพี 30 จำกัด (มหาชน) | |
dc.title.alternative | Competencies mong drivers for non-regulr route public crriers in service business :b cse of .t.p. 30 public co., ltd | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was threefold. First, it aimed at examining a level of expected competencies of drivers for non-regular route public carriers based on the expectation of administrators, managers, and heads of service businesses. Also, this study intended to investigate actual competencies of these drivers working for service businesses. The third purpose of this study was to compare the expected and actual competencies of these drivers. The population of this study was divided into two groups. The first group comprised 26 people who were administrators, managers, and heads of service businesses. The other group was consisted of 188 drivers for non-regular route public carriers. The instrument used to collect the data was 2 sets of questionnaire. While one set of the questionnaire asked about expected competencies, the other dealt with drivers’ actual competencies. The statistical tests used to analyze the collected data included percentage, means, standard deviation. The test of t-test was also administered by using the mean scores of expected competencies as identified by administrators, managers, and heads of service businesses. The results of this study revealed that the administrators, managers, and heads of service businesses expressed a high level of expectation in every aspect toward the drivers’ expected competencies. Especially, the expected competency in relation to having knowledge on safe driving was rated at the highest level. Also, all specific competencies in driving were rated at a high level, expect for that of driving skills which was rated at the highest level. Regarding the drivers’ actual competencies, they demonstrated their competencies at a high level, expect for that of having knowledge on transportation laws which was found at a moderate level. In addition, based on the comparisons between the administrators’ expectation of the drivers’ expected competencies and their actual ones, it was shown that there were statistically significant differences between the two competencies at a significant level of .05. In other words, the drivers demonstrated their actual competencies lower than those as expected by administrators, managers, and heads of service businesses in both major aspects and items. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |