dc.contributor.advisor |
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง |
|
dc.contributor.advisor |
ประทุม ม่วงมี |
|
dc.contributor.author |
อภิรมย์ จามพฤกษ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:37:23Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:37:23Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6220 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสาน ระยะเวลาการฝึก 8 สัปดาห์ที่มีต่อตัวแปรความสามารถสูงสุดในการนําเอาออกซิเจน ไปใช้ แอนแอโรบิกเทรชโฮล สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก กรดแลคติกในเลือด และความสามารถในการวิ่ง ระยะทาง 400 เมตร และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรดังกล่าว ก่อนการฝึกระหว่างการฝึกและหลัง การฝึกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายอายุ 15 ปีของโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ลําพูน ได้มาแบบเจาะจง และ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก กลุ่มที่ 2 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอโรบิก และกลุ่มที่ 3 ฝึกอินเทอร์วาลแบบผสมผสาน แล้วนําผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measures) นัยสําคัญทางสถิติถูกกําหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถสูงสุดในการนําเอาออกซิเจนไปใช้ทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1 จาก 34.170 ± 6.062 เป็น 36.900 ± 6.772 มล./กก./นาที, กลุ่มที่ 2 จาก35.100 ± 7.314 เป็น 39.040 ± 6.871 มล./กก./นาที และกลุ่มที่ 3 จาก 34.210 ± 5.956 เป็น 39.580 ± 6.245 มล./กก./นาที, จุดที่ถือเป็นแอนแอโรบิกเทรชโฮลทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1 จาก 9.000 ± 1.000 เป็น 10.550 ± 0.896 กม./ชม., กลุ่มที่ 2 จาก 9.300 ± 1.206 เป็น 11.100 ± 0.966 กม./ชม.และกลุ่มที่ 3 จาก 9.350 ± 1.107 เป็น 10.950 ± 0.956 กม./ชม., สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกได้แก่ พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก ทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ กลุ่มที่ 1 จาก 9.998 ± 0.544 เป็น 10.509 ± 0.571 วัตต์/กก.,กลุ่มที่ 2 จาก 9.823 ± 0.998 เป็น 10.288 ± 0.788 วัตต์/กก.และกลุ่มที่ 3 จาก 10.267 ± 0.972 เป็น 10.900 ± 0.892วัตต์/กก., ความสามารถในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิกทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ กลุ่มที่ 1 จาก 7.636 ± 0.433 เป็น 7.943 ± 0.454วัตต์/กก., กลุ่มที่ 2 จาก 7.326 ± 0.709 เป็น 7.602 ± 0.898 วัตต์/กก. และ กลุ่มที่ 3 จาก 7.673 ± 0.554 เป็น 8.006 ± 0.517 วัตต์/กก., กรดแลคติกในเลือด ในกลุ่มที่ 2 มีเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (ลดลง) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เพียงกลุ่มเดียวคือ จาก 12.390 ± 2.939 เป็น 10.900 ± 2.495 มิลลิโมล/ลิตร, ความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ทั้ง 3 กลุ่ม มีการพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลามที่ 1 จาก 83.610 ± 9.356 เป็น 75.945 ± 7.707 วินาที, กลุ่มที่ 2 จาก 82.079 ± 8.856 เป็น 74.574 ± 5.148 วินาที และกลุ่มที่ 3 จาก 83.308 ± 9.501 เป็น 76.149 ± 8.904 วินาทีและ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
|
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
|
dc.subject |
สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ |
|
dc.subject |
แอโรบิก (กายบริหาร) |
|
dc.subject |
การวิ่ง |
|
dc.title |
ผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก แอโรบิก และความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร |
|
dc.title.alternative |
Effects of nerobic, erobic nd combintion intervl trining on nerobic, erobic prmeters nd 400 meters running performnce |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were 1) to study the effects of 8-week long anaerobic interval training, aerobic interval training, and combination interval training on maximum oxygen uptake, anaerobic thresholds, anaerobic capacity, blood lactate, and the 400 meter running performance and (2) to compare the differences of the parameters before, during and after training. Samples, derived from purposive sampling, were 15 years old male students at SuanBoonyopatham School in Lamphun province. They were divided into three groups of 10. Group 1 was trained with anaerobic interval training. Group 2 was trained with aerobic interval training. Group 3 was trained with combination interval training. Data were analyzed using basic statistical tests, and the ANOVA with repeated measures was used to compare the differences among groups. Significance level was set at .05. Results showed, 1) values of pre-test, and post-test, that VO2 max improved statistical significantly in all groups. Group 1 increased from 34.170 ± 6.062to 36.900 ± 6.772 ml./kg.-1 /min.-1 , group 2 from 35.100 ± 7.314to 39.040 ± 6.871 ml./kg.-1 /min.-1 , and group 3 from 34.210 ± 5.956to 39.580 ± 6.245 ml./kg.-1 /min.-1 . Anaerobic thresholds also improved in all groups. Group 1 from 9.000 ± 1.000to 10.550 ± 0.896 km./hr., group 2 from 9.300 ± 1.206to 11.100 ± 0.966 km./hr., and group 3 from 9.350 ± 1.107to 10.950 ± 0.956 km./hr. Anaerobic power improved in all groups. Group 1 from 9.998 ± 0.544to 10.509 ± 0.571 watt./kg., group 2 from 9.823 ± 0.998 to10.288 ± 0.788 watt./kg., and group 3 from 10.267 ± 0.972to 10.900 ± 0.892 watt./kg. Anaerobic capacity showed improvement in all groups. Group 1 from 7.636 ± 0.433to 7.943 ± 0.454 watt./kg., group 2 from 7.326 ± 0.709to 7.602 ± 0.898 watt./ kg., and group 3 from 7.673 ± 0.554to 8.006 ± 0.517 watt./kg. Blood lactate of group 2 showed significant decrease from 12.390 ± 2.939to 10.900 ± 2.495 mmol./L. The 400-meter running performance improved in all groups. Group 1 from 83.610 ± 9.356to 75.945 ±7.707 sec., group 2 from 82.079 ± 8.856to 74.574 ± 5.148 sec., group 3 from 83.308 ± 9.501to 76.149 ± 8.904 sec. 2) The comparison between parameters; before, during and after were not statistically significant differences at .05. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|