DSpace Repository

รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน

Show simple item record

dc.contributor.advisor บรรพต วิรุณราช
dc.contributor.author ณัฐพล อมตวณิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:37:23Z
dc.date.available 2023-05-12T02:37:23Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6219
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน และวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงรูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคเดลฟายเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิโครงการด้านพลังงานทดแทน จํานวน 17 ท่าน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนของประเทศไทยจํานวน 138 องค์กร ใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติที่เกี่ยวข้องได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired sample t-test ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน ประกอบด้วย เกณฑ์พิจารณา 6 หมวดใหญ่ และประกอบด้วยเกณฑ์ย่อยด้านต่าง ๆ 25 ด้านย่อย ดังนี้ 1. หมวดเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม 1.1 ด้านความคิดริเริ่ม 1.2 ด้านเทคนิคทางวิศวกรรม 1.3 ด้านระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2. หมวดทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 2.1 ด้านสิ่งแวดล้อม 2.2 ด้านสุขภาพ 2.3 ด้านทรัพยากรและการวางแผนพลังงาน 3. หมวดสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3.1 ด้านสังคมโดยรวม 3.2 ด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชน 3.3 ด้านการสร้างงานให้คนในชุมชน 3.4 ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อชุมชน และท้องถิ่น 3.5 ด้านการสร้างความตระหนัก 3.6 ด้านการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคง 3.7 ด้านการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสีย 4. หมวดเศรษฐศาสตร์การเงินและการตลาด 4.1ด้านเศรษฐกิจและผลตอบแทนการลงทุน 4.2 ด้านการตลาดและพาณิชยกิจ 4.3 ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 4.4 ด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 5. หมวดความเป็นเลิศในการดําเนินการ 5.1 ด้านการดําเนินการและการบํารุงรักษา โครงการ 5.2 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 5.3 ด้านสมรรถนะของบุคลากรในการดําเนินโครงการ 5.4 ด้านผู้ค้า ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง 6. หมวดการจัดการองค์ความรู้และประยุกต์นําไปใช้งาน 6.1 ด้านความสามารถในการจําลองและนําไปใช้งาน 6.2 ด้านการใช้องค์ความรู้และทรัพยากรภายในประเทศ 6.3 ด้านการแบ่งปันองค์ความรู้ 6.4 ด้านรูปแบบการนําเสนอโครงการ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความเหมาะสมของเกณฑ์พิจารณาโครงการพลังงานทดแทนที่ค้นพบและความสามารถที่จะพัฒนาเข้าถึงเกณฑ์ดังกล่าวได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ 0.05
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พลังงานทดแทน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- การจัดการสาธารณะ
dc.title รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน
dc.title.alternative The new model of indictors for considering renewble energy projects
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the new model of indicators for renewable energy project. And how to approach to have an access to the new model of the criteria. Mixed-methods were used as the research methodology. For qualitative research, Delphi technique which relied on a panel of experts in the field of renewable energy was used and 17 experts had to fill out the questionnaires. For the quantitative research, the data were collected from experts of 138 organizations involved in the implementation of Thailand's renewable energy program. The relevant statistics used in the analysis consisted of mean, standard deviation, and paired sample t-test. In hypothesis testing, the confidence level was determined at 95%. The study indicated that new model of indicators of renewable energy project consists of six major categories and consists of 25 sub-categories: 1. Technology and innovation management consisting of 1.1 Initiative, 1.2 Techniques for Engineering, 1.3 The level of technological advancement; 2. Natural resources, environment and health consisting of 2.1 Environment, 2.2 Health, 2.3 Resources and energy planning; 3. Social section, stakeholders and sustainable development consisting of 3.1 Overall social aspects, 3.2 Improvement of the quality of social life and community, 3.3 Creating jobs for people in the community, 3.4 Economic aspects affecting communities and localities, 3.5 Awareness, 3.6 Sustainable urban and rural development, and 3.7 Consideration of stakeholders; 4. Economics Finance and marketing consisting of 4.1 Economic aspect and return on investment, 4.2 Marketing and Commerce, 4.3 Value-added to related businesses which was focused on supply chain management, 4.4 Competitive advantage; 5. Excellence in Action consisting of 5.1 Implementation and maintenance of the project, 5.2 Optimization of management, 5.3 Improving competency of personnel in project implementation, 5.4 Traders, Suppliers and Affiliates; 6. Knowledge management and applications consisting of 6.1 Ability to simulate and implement, 6.2 the use of knowledge and resources within the country, 6.3 Knowledge sharing, and 6.4 Presentation format. The results of the data analysis showed that the appropriateness of the criteria for considering renewable energy projects discovered and the ability to develop an access to these criteria were significantly different at 0.05.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account