dc.contributor.advisor |
บรรพต วิรุณราช |
|
dc.contributor.author |
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:37:22Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:37:22Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6216 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติและศักยภาพที่เหมาะสม รวมถึงศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประนีประนอมประจำศาลแรงงานของประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงประสานวิธี (Mixed method research) ประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติและศักยภาพที่เหมาะสมของผู้ประนีประนอม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1. ด้านคุณสมบัติ 2. ด้านความรู้ความสามารถและทักษะ 3. ด้านสมรรถนะซึ่ง แบ่งเป็น 13 ข้อย่อย ดังนี้ คือ ด้านคุณสมบัติ ประกอบด้วย 1) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 2) มีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการไกล่เกลี่ย 3) เป็นที่ยอมรับทางสังคม มีความรับผิดชอบ ไม่เคยมีประวัติอาชญากร 4) มีจิตอาสา อุทิศเวลา ยอมรับความกดดันและไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนและ 5) มีความเป็นกลาง เสมอภาคไม่ลำเอียง ด้านความรู้ความสามารถและทักษะ ประกอบด้วย 1) มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้จิตวิทยาในการเจรจาต่อรอง 3) มีความรู้ความสามารถและทักษะในการจับประเด็นสำคัญสรุปความได้และด้านสมรรถนะประกอบด้วย 1) มีจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง 2) มีความเข้าใจภารกิจการเป็นผู้ประนีประนอมอย่างถ่องแท้ 3) มีศิลปะการเจรจาต่อรองและการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง 4) มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ มีปฏิภาณไหวพริบและเป็นผู้ฟังที่ดี 5) มีความเชี่ยวชาญในการไกล่เกลี่ยประนีประนอม สรุปได้ว่า แนทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประนีประนอม ควรต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานรวมถึงด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยและจิตวิทยาในการเจรจาต่อรอง เพื่อเพิ่มทักษะในการสรุปความและจับประเด็นที่สำคัญ ได้จัดรวบรวมคดีตัวอย่าง สร้างกลุ่มสัมพันธ์ให้ทำกรณีศึกษาและจัดให้มีการศึกษาดูงานตามสถานที่ประกอบการสรุปผลการฝึกอบรมแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประนีประนอม พบว่า ความรู้ความเข้าใจของการฝึกอบรมในด้านทักษะและศักยภาพด้านการใช้จิตวิทยาในการเจรจาต่อรองมีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 43.41 ด้านความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่น ๆ มีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.71 ด้านความรู้ความสามารถและทักษะในการสรุปความและจับประเด็นสำคัญ มีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 16.67 ส่วนผลการประเมินการจัดโครงการหลักสูตรการฝึกอบรมในภาพรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า การให้คะแนนประเมินเฉลี่ยระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการฝึกอบรม อยู่ในระดับดีถึงดีมาก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การไกล่เกลี่ย |
|
dc.subject |
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.title |
แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประนีประนอมของศาลยุติธรรมกรณีศึกษา : ศาลแรงงานภาค 2 |
|
dc.title.alternative |
The development of meditor’s potentil in the court: cse study of the lbour court region 2 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to study any quality concerning the development of mediator’s potential performed mediation in the court, the Labour Court region 2 of Thailand. This is a mixed method research that aims to conduct both qualitative research and action research. The results showed that qualities of efficient mediator performing mediation in the court consisted of three aspects: quality, knowledge and expertise, and performance effectiveness. The three aspects cover 13 areas as follows: 1) academic completion of Bachelor Degree or more; 2) Knowledge and expertise towards mediation in the court; 3) Socially accepted and responsible work attitude; 4) Devoted and voluntary mindset; and 5) Just and Free of biases; 6) Full knowledge in Labour Laws and any other concerning labour welfare and protection; 7) Psychological Negotiation skill in compromising; 8) Summarizing skill in substance and significant details; 9) Ethics and Morality; 10) Awareness in mission of mediator; 11) Arts of negotiation and mediation; 12) Strong leadership, intelligence, and good listener; and 13) Excellence in negotiation and mediation. The researcher has a conclusion about the development of mediator’s potential performed in the court that nurturing mediators in skills and practices including the studying of the case studies through seminars and workshop needs to be significantly emphasized. The result of seminar in the development of mediator’s potential performed in the court also showed that the knowledge and expertise in mediation, and psychological negotiation skill in compromising have improved at 43.41 percent. Knowledge in Labour Laws of welfare and protection has improved 17.71 percent. Summarizing skill of substance and significant details has improved 16.67 percent. Furthermore, the participants showed a highly satisfying feedback towards a seminar of the development of mediator’s potential. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|