Abstract:
การทดสอบระดับความเข้มข้นและระยะเวลาในการฉีดซ้ำของฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรีลีสซิ่งฮอร์โมน อนาลอกซ์ (Gonadotropin Releasing Hormone Analogues) ชนิดออกฤทธิ์นานในรูปแบบไมโครสเฟียร์ ต่อการวางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า Amphiprion polymnus ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล ในตู้กระจกขนาด 15 นิ้ว x 24 นิ้ว x 15 นิ้ว ที่มีระบบกรองน้ำรวมโดยใช้ระดับความหนาแน่น
1 คู่ /ตู้ ด้วยความเข้มข้นของออร์โมน 4 ระดับ คือ 0,25,75 และ 150 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม โดยมีระยะเวลาในการฉีดซ้ำ 2 ระดับ คือ ทุก 2 และ 3 เดือน เป็นปัจจัยร่วมเพื่อตรวจสอบการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า
ผลจากการทดลองพบว่า ปลาในกลุ่มที่กำหนดฉีดฮอร์โมนซ้ำทุก 2 เดือน ปลามีการผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฉีดฮอร์โมน 5 – 74 วัน จำนวน 0, 2, 3 และ 1 คู่ตามลำดับ จำนวนครั้งที่วางไข่ทั้งหมด คือ 0, 6, 19 และ 6 ครั้งตามลำดับ จำนวนไข่ที่วางมีค่าอยู่ระหว่าง 57-2,692 ฟองต่อครั้ง อัตราการฟักเป็นตัวมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 56.6-100 และอัตรารอดตายของลูกปลามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 3.2-15.2 ต่อครั้ง
ส่วนปลาในกลุ่มที่กำหนดฉีดฮอร์โมนซ้ำทุก 3 เดือน เมื่อฉีดฮอร์โมนที่ระดับ0, 25, 75 และ 150 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิดลกรัม ปลามีการผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฉีดฮอร์โมน 2-108 วัน จำนวน 2, 3, 0 และ 1 คู่ตามลำดับ จำนวนครั้งที่วางไข่ทั้งหมด คือ 5, 18, 0 และ 8 ครั้งตามลำดับ จำนวนไข่ที่วางมีค่าอยู่ระหว่าง 336-4,031 ฟองต่อครั้ง อัตราการฟักเป็นตัวมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 29.4-85.1 และอัตราอดตายของลูกปลามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 5.1-19.9 ต่อครั้ง
ผลของการทดลองแสดงให้เห็นว่า ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนและระยะเวลาในการฉีดซ้ำ ไม่มีผลต่อการผสมพันธุ์วางไข่, จำนวนครั้งที่วางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า, จำนวนไข่ที่วาง, อัตราการฟักเป็นตัว และอัตราการรอดตายของลุกปลาการ์ตูนอานม้า