DSpace Repository

การนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่จากสารละลายสังเคราะห์ของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างทองแดงกับกรดอินทรีย์ซึ่งได้จากกระบวนการสกัดทางชีวภาพของขยะอิเลกทรอนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาณัติ ดีพัฒนา
dc.contributor.advisor ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม
dc.contributor.author ฉัตรฤดี ศิริลำดวน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:34:35Z
dc.date.available 2023-05-12T02:34:35Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6199
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการดูดซับสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างทองแดงกับกรดอินทรีย์ที่เกิดจากการสกัดทางชีวภาพจากขยะอิเลกทรอนิกส์เพื่อนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้คีเลทติ้งเรซิน 3 ชนิด ได้แก่ Chelex 100 (imminodiacetic acid), Dowex M4195 (Bispicolamine) และ Lewatit TP260 (amino methyl phosphonic) มาทำการคัดเลือกเรซินที่เหมาะสมในการนำทองแดงกลับคืนมาจากสารละลายสังเคราะห์ของสารประกอบเชิงซ้อนของทองแดงกับกรดซิตริก (สารประกอบเชิงซ้อนทองแดง ซิเตรท) โดยใช้ความเข้มข้นของทองแดงในสารละลายสังเคราะห์อยู่ในช่วง 100 ถึง 2,800 มิลลิกรัมต่อลิตรเตรียมในกรดซิตริกความเข้มข้น 0.01, 0.1 และ 1.0 โมลาร์ ตามลำดับ ทำการทดลองการดูดซับแบบกะและทดสอบการคายซับด้วยกรดซัลฟูริก กรดไฮโดรคลอริก และกรดไนตริก จากผลการศึกษาการคัดเลือกเรซินพบว่า Dowex M4195 มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการนำทองแดงกับคืนมา เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการดูดซับและคายซับได้มากกว่าเรซิน Chelex 100 และ Lewatit TP 260 และให้ค่าความสามารถในการดูดซับที่สมดุลเท่ากับ 59.29 มิลลิกรัมต่อกรัมในส่วนของการคายซับ พบว่า สารละลายกรดซัลฟูริกความเข้มข้น 2โมลาร์ สามารถคายซับทองแดงจาก Dowex M4195 ได้ดีที่สุด มีค่าเปอร์เซนต์การคายซับ เท่ากับ 52.55 การศึกษากลไกของสมดุลการดูดซับด้วยแบบจำลอง Langmuir แบบจำลอง Freundlich และแบบจำลอง Redlich-Peterson ในงานวิจัยนี้ใช้วิธี nonlinear regression โดยอาศัย Microsoft Excel solver ทำการ minimize error function 6 ฟังก์ชันได้แก่  2 , EABS, MPSD, HYBRID, RMSE และ SSE และใช้ค่า sum normalize (SNE) error function เป็นเครื่องมือในการตัดสิน พบว่า แบบจำลอง Redlich-Peterson สามารถอธิบายสมดุลย์การดูดซับได้ดีที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลไกการดูดซับเป็นแบบผสมผสานระหว่างการดูดซับชั้นเดียวและการดูดซับหลายชั้น และพบว่า ค่าความสามารถในการดูดซีลสูงสุดเท่ากับ 88.75 มิลลิกรัมต่อกรัม (ประสิทธิภาพการดูดซับ 86.2%) ที่ pH ของสารละลายในช่วง 1.9 ถึง 2.5 และความสามารถในการดูดซับลดลงเมื่อค่า pH ลดลง การศึกษาอุณหพลศาสตร์ของการดูดซับที่ช่วงอุณหภูมิระหว่าง 30 ถึง 60 องศาเซลเซียส พบว่า การเปลี่ยนแปลงพลังงานกิบส์ (ΔG 0 ) และค่าการเปลี่ยนแปลงเอนทรัลปี (ΔH 0 ) มีค่าเป็นลบ ซึ่งบ่งบอกถึงกระบวนการดูดซับทองแดงโดยใช้ Dowex M4195 เป็นกระบวนการคายความร้อน และเกิดขึ้นได้เองและค่าการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปี (ΔS 0 ) จากการทดลองเป็นบวกแสดงว่ามีโมเลกุลทองแดงอิออน (Cu2+) ที่ผิวเรซินจำนวนมากและอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระหว่างการดูดซับของสารประกอบทองแดงซิเตรทกับหมู่ฟังก์ชันของเรซิน สำหรับการดูดซับในระบบสององค์ประกอบ ได้แก่ ทองแดงซิเตรทและสังกะสีซิเตรท ข้อมูลการดูดซับของระบบสอง องค์ประกอบถูกวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง non-modified Langmuir และแบบจำลอง Extended Langmuir พบว่า ความสามารถในการดูดซับของทองแดงและสังกะสีลดลง สมดุลการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลอง Extended Langmuir สำหรับในการศึกษาจลนพลศาสตร์การดูดซับ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองด้วยแบบจำลอง Pseudo-first order และแบบจำลอง Pseudo-second order ด้วยวิธีการ minimization ฟังก์ชัน RMSE พบว่า จลนพลศาสตร์การดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลอง Pseudo-second order ซึ่งขั้นกำหนดอัตราปฏิกิริยาถูกควบคุมโดยอัตราเร็วในการดูดซับและอัตราการถ่ายเทมวลสารในการวิเคราะห์โดยละเอียดด้วยแบบจำลองการแพร่ของ Weber-Morris พบว่า ขั้นกำหนดอัตราปฏิกิริยา ถูกควบคุมโดยการแพร่ของสปีชีส์ของทองแดงซิเตรทในชั้นฟิล์ม นอกจากนี้ยังพบว่า ค่า pH ของสารละลายความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายสารประกอบเชิงซ้อนของทองแดงซิเตรท และอุณหภูมิมีผลต่ออัตราเร็วของปฏิกิริยาค่าพลังงานกระตุ้นจากปฏิกิริยาการดูดซับเท่ากับ 52.37 กิโลจูลต่อโมล ซึ่งบ่งชี้ว่า การดูดซับเป็นการดูดซับทางเคมี (Chemisorption) การคายซับทองแดงซิเตรทจากเรซิน ด้วยสารละลายกรดซัลฟูริคความเข้มข้น 2โมลาร์ พบว่า เวลาในการคายซับเข้าสู่สมดุลประมาณ 24 ชั่วโมงและข้อมูลทางจลนพลศาสตร์ถูกวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง Pseudo-first order และแบบจำลอง Pseudo-second order พบว่า จลนพลศาสตร์การคายซับสอดคล้องกับแบบจำลอง Pseudo-first order ความสามารถในการคายซับเท่ากับ 31 มิลลิกรัมต่อกรัมเรซิน งานวิจัยได้แสดงถึงองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสมดุลการดูดซับและจลนพลศาสตร์การดูดซับของสารประกอบเชิงซ้อนของทองแดงซิเตรทที่สกัดได้จากขยะอิเลกทรอนิกส์ด้วยวิธีการ สกัดทางชีวภาพบนเรซิน Dowex M4195 สามารถนำไปใช้ในการออกแบบหอดูดซับสำหรับการนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ทองแดง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม
dc.subject ทองแดง -- การนำกลับมาใช้ใหม่
dc.title การนำทองแดงกลับมาใช้ใหม่จากสารละลายสังเคราะห์ของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างทองแดงกับกรดอินทรีย์ซึ่งได้จากกระบวนการสกัดทางชีวภาพของขยะอิเลกทรอนิกส์
dc.title.alternative Recovery copper from synthetic copper-orgnic complexessolution generted in bioleching of electronic wstes
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research was to establish the fundamentalsof adsorptionof copper from copperorganic complexesgeneratedin bioleaching of electronic waste (e-waste) using commercial chelating resin. Three commercial helatingresins including Chelex 100 (Imminodiacetic acid), Dowex m4195 (Bispicolamine) and Lewatit TP260 (Amino methyl phosphonic) were used as potential adsorbents for screening to recover a copper from a syntheticbioleachsolution prepared by citric acid, the most effective metabolic acid in bioleaching of e-waste.Screening analysis shown that the Dowex M4195 is suitable for recovering copper from copper-citrate complexes solution which provide the best efficiency(86.2% and qe = 59.29 mg/g) in the recovery of copper with comparisonto Chelex 100and Lewatit TP 260 resins and a good eluent for desorptionof copper from loaded-resinsusing a sulfuric acid with a concentration of 2 M. In order to investigate the mechanism of equilibrium adsorption, isotherm models including Langmiur, Freundlich and Redlich-Peterson, were utilized and nonlinear optimization using Solver add-in Microsoft Excel and 6 error functions ( 2 , EABS, MPSD, HYBRID, RMSE and SSE) were applied in the optimization technique. The results from this study indicated that adsorption of copper from copper-citrate complexes solution onto Dowex M4195 follows Redlich-Peterson isotherm model which provides the lowest of the sum of normalized error (SNE) suggesting that the mechanism of the adsorption is a combination of monolayer and multilayer adsorption. Monolayer adsorption would be an adsorption of Cu2+ species whereas CuCitH species would cause a multilayer adsorption onto Dowex M4195. In addition to investigate the interference of adsorption of Cu complexes, binary adsorption of Cu and Zn citrate complexes was studied. The equilibrium adsorption data were fit to the modified Langmuir and Extended Langmuir isotherm models. The result showed that the experimental data of binary system were fit to the Extended Langmuir isotherm model. The kinetics of adsorption of copper from copper-citrate complexes solution onto Dowex M4195 demonstrated that Pseudo-second order kinetic model was found to fit with the experimental data. This suggests both reaction and mass transfer controlled the rate of adsorption. Weber-Morris model was used to decouple the mass transfer effect. This result suggests that the transport of copper citrate complexes was found to be controlled by film diffusion. The solution pH, initial concentration of copper citrate solutions and temperature has affected to the kinetics of adsorption of copper complexes onto Dowex M4195. The activation energy of copper citrate complexes adsorption was found to be 52.37 kj/mole indicating that adsorption of copper citrate complexes is chemisorption. Moreover, thermodynamic parameters of the adsorption confrimed that negativevalues of ΔG 0 and ΔH 0 implied that the adsorption process was favorable, exothermic, and spontaneous in nature. The positive values of ΔS 0 showed a high favourite molecule of copper ion ontothe surface of the resin and due to some structural change or reformate adsorbate-adsorbent of adsorptionof copper citrate complexes. The kinetics of desorption was investigated in this study using H2 SO4 2 M. The rate of desorption was slow and reach equilibrium after 24 hours. The result showed that the pseudo first order kinetics was found to fit with the experimental data. Insummary, the fundamentals of equilibrium and kinetics of adsorption of copper citrate complexes onto Dowex M4195 found in this research has shown significance knowledge and will be used as a platform for the future design of adsorber for recovering copper from copper complexes solution generated in the bioleaching of e-waste.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account