Abstract:
เก็บตัวอย่างปะการังเขากวาง acropora hyacenthus จากเกาะท้ายค้างคาว จังหวัดชลบุรี ทำการศึกษาผลของไนไตร์ตที่ระดับความเข้มข้น 5,10,15 และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่มีต่อปะการังเขากวางเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วนำขึ้นมาพักในน้ำทะเลปกติเป็นเวลา 120 ชั่วโมง เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงของสี การยื่นของลำตัว (polyp) และหนวด (tentacle) การตอบสนองต่อสิ่งเร้า และระดับการตายของปะการังเขากวาง ภายใน 24, 48, 72, 96 และ 120 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่าที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่มีผลกระทบต่อปะการังเขากวาง เนื่องจากปะการังจะมีสี การยืนของลำตัวและหนวด การตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่นเดียวกับปะการังกลุ่มควบคุม ปะการังเริ่มได้รับผลกระทบจากพิษของไนไตร์ตที่ระดับความเข้มข้น 10 มิลลิเมตรต่อลิตร โดยจะพบว่าสีเริ่มจางลงไปในเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนำขึ้นมาพักในน้ำทะเลปกติ ลำตัวและหนวดจะยื่นออกไม่เต็มที่ การตอบสนองจะช้าลงไปภายใน 48 ชั่วโมง และตายเกือบหมดภายใน 96 ชั่วโมง ส่วนที่ระดับความเข้มข้นของไนไตร์ต 10-15 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการเปลี่ยนแปลงของสีค่อนข้างชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมง ลำตัวและหนวดจะยื่นอกมาน้อยมาก การตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็ช้ามาก และมีอัตราการตายเกิดขึ้นเกือบหมดภายใน 24 ชั่วโมง ระดับอุณหภูมิ ความเค็ม และความเป็นกรดด่าง ค่อนข้างคงที่ตลอดการทดลอง จึงไม่มีผลในการเสริมความเป็นพิษของไนไตร์ตให้เพิ่มขึ้น